magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Museum)
formats

พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Museum)

 ภาพจาก http://culturalartcu.blogspot.com/2013/05/blog-post_9046.html

ภาพจาก http://culturalartcu.blogspot.com/2013/05/blog-post_9046.html

พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคาร 4 ชั้น ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่จากอาคารเคมี 3 ซึ่งอยู่ระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะศิลปกรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมฉลองในวาระการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 100 ปี เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล สิ่งของ จัดแสดงที่นำเสนอให้เห็นภาพรวม ของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีพัฒนาการ และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 100 ปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อรองรับนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2557

อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคาร 4 ชั้น นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีแนวคิด ดังนี้

ชั้นที่ 1 ส่วนจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนและผลงานศิลปะ

เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการหมุนเวียน จัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และจัดแสดงผลงานศิลปะของนิสิต และบุคลากร

ชั้นที่ 2  ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย

นำเสนอในภาพรวมเพื่อให้เห็นถึงองค์ความรู้ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เห็นความโดดเด่นในเชิงศาสตร์ และความแข็งแกร่งทางวิชาการแขนงต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

ในชั้นนี้ จะแสดงผลงานต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาทิเช่น การวาดลายไทยบนผ้าไหมด้วย “นาโนคริสตัลทองคำ”  ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบเครื่องแต่งกายยืนของโขน และผลงานอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่จำได้อย่างแม่นยำ คือ โปรแกรมซียู-ไรท์เตอร์ เพราะสมัยก่อนเป็นโปรแกรมยอดฮิต ใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง

ชั้นที่ 3 อุทยานจามจุรี

นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภายภาพของมหาวิทยาลัยในช่วงระยะเวลา 90 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย ในส่วนนี้ จะได้เห็นอาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีเ่กิดขึ้นแบ่งตามแต่ละทศวรรษ

ในชั้นนี้มีภาพยนตร์ที่กล่าวถึงพัฒนาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในแต่ละยุคสมัย ดูภาพยนตร์แล้วค่อยเดินดูภาพและข้อมูลประกอบที่จัดเรียงรายโดยรอบอีกทีค่ะ  ขอยกตัวอย่าง อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ มานำเสนอค่ะ

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ (2464) ออกแบบโดยเอ็ดเวิร์ด ฮีลี สถาปนิกชาวอังกฤษ เป็นตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ต่อมาใช้เป็นอาคารเรียนหลังแรกของคณะอักษรศาสตร์ จึงเรียนกันว่า ตึกอักษรศาสตร์ 1 ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นเกียรติยานุสรณ์แด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระนามเดิมขณะทรงพระเยาว์ว่า สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหาจุฬาลงกรณ์

อาคารหลังนี้ได้รับรางวัลประเภทอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2530 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

 

 

 

ชั้นที่ 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสังคม

นำเสนอเรื่องราวเพื่อแสดงความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคม

พิพิณภัณฑ์มหาวิทยาลัย เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น. ปิดบริการ วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-221-83645 หรือ e-mail: chulamuseum@gmail.com

บรรณานุกรม:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม. พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.  http://culturalartcu.blogspot.com/2013/05/blog-post_9046.html เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2557

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม. พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557. (แผ่นพับ)

 – ( 708 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
Comments Off  comments