magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories อันตรายจากไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่า จากข่าว
formats

อันตรายจากไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่า จากข่าว

เว็บไซต์ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี ได้ให้ความรู้ภัยต่างๆ จากสารเคมี จากเหตุการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขอประมวลเหตุการณ์ที่เกิดเป็นข่าวดัง  กรณีไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่า เช่น

ข่าวคนงานโรงงานกระดาษปทุมธานี บริษัท พี พี บรรจุภัณฑ์ จำกัดลงไปตรวจสอบบ่อตีเยื่อกระดาษ หมดสติ 6 คน และเสียชีวิต 1 คน เนื่องจากบ่อประเภทนี้อาจมีแก๊สอันตรายหลงเหลืออยู่ คือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือที่รู้จักกันดีว่า แก๊สไข่เน่า หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบประสาท (เมษายน 2554)กรณีลูกเรือประมงเสียชีวิต 5 รายที่จังหวัดสตูล (มีนาคม 2550) จากการลงไปในห้องเก็บปลา โดยในห้องเก็บปลามีน้ำสกปรกดำขังประมาณ 50 เซนติเมตร กลิ่นเหม็นรุนแรง ลูกเรือคนแรกลงไป มีอาการน้ำลายฟูมปาก หยุดหายใจ คนที่ 2-3-4-5 ตามลงไปช่วยก็มีอาการแบบเดียวกัน ตรวจสอบพบว่ามีแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ระดับ 345 ppm. ซึ่งสูงกว่าค่าความเข้มข้นของแก๊สที่ทำให้ตายได้ คือ 100 ppm.

กรณีเด็กชายวัย 12 ปี เสียชีวิตอยู่ที่บ่อขยะ (สิงหาคม 2553) เนื่องจากสูดดมแก๊สพิษในบ่อขยะ ทำให้หมดสติและเสียชีวิต ในที่แคบแบบบ่อขยะ บ่อหมัก จะมีกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ ซึ่งผลการย่อยสลายจะทำให้เกิดแก๊สไข่เน่า หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีกลิ่นรุนแรง ปริมาณน้อยขยาด 20 ส่วนในล้านส่วน จะเกิดสัญญาณเตือนด้วยอาการระคายเคืองที่เยื่อเมือในตา และทางเดินหายใจ หากได้รับปริมาณมากขึ้นถึง 150 ส่วนในล้านส่วน ระบบประสาทรับกลิ่นจะเริ่มเป็นอัมพาต

จากการเสียชีวิตของคนงาน 4 รายที่โกดังข้าวโพดอัดแห้งแสงรัตน์ปากช่อง นครราชสีมา (เดือนกรกฎาคม 2549) ในโรงงานมีเครื่องจักรทำงาน และมีช่องท่อสายพานตักข้าวโพดขนาด 1.5×3 เมตร ลึกลงไปใต้ดิน 3 เมตร คนงานเดินลงไปในช่องท่อสายพานเพื่ออัดจาระบีสายพานทุก 15 วัน กรณีนี้พิสูจน์ทราบว่าเป็นแก๊สโฮโดรเจนซัลไฟด์หรือแก๊สไข่เน่าซึ่งมีกลิ่นฉุน การสูดดมเข้าไปมากๆ จะหมดสติทันทีและถึงเสียชีวิต

จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นข้างต้น มีข้อควรระวัง คือ ในที่อับอากาศต้องระวังในการเข้าไป โดยเฉพาะที่ที่มีการหมักเน่าเหม็น จะมีแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่า สถานที่อับอากาศเหล่านี้ ได้แก่ ในท่อระบายน้ำ อุโมงค์ใต้ดิน บ่อหมักในโรงงานกระดาษ บ่อพักขยะ

การเข้าไปในที่เหล่านี้ต้องมีเครื่องช่วยหายใจ และมีการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือได้ทันที เช่น มีเชือกผูกเอวคนที่เข้าไปในที่อับ เพื่อเอาไว้ช่วยดึงขึ้นจากบ่อเมื่อเกิดสลบหรือช่วยตัวเองไม่ได้

ติดตามข้อมูลของไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) ได้ที่  http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=06257&CAS=&Name=

รายการอ้างอิง:

สุชาตา ชินะจิตร. 2554. บ่อตีเยื่อโรงงานกระดาษ เป็นข่าวอีกแล้ว!!!  สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557 จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=90

สุชาตา ชินะจิตร. 2550. ลูกเรือประมงเสียชีวิต. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557 จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=51

สุชาตา ชินะจิตร. 2553. แก๊สพิษบ่อขยะ. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557 จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=88

สุชาตา ชินะจิตร. 2549. แก๊สไข่เน่าที่โกดังข้าวโพดอัดแห้ง. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557 จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=31– ( 2351 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 + four =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>