magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก แก้ปัญหากุ้งตายด่วนกับชุดตรวจจีโนม
formats

แก้ปัญหากุ้งตายด่วนกับชุดตรวจจีโนม

ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน ไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา พร้อมเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน ไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา พร้อมเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

ล่าสุด…เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย ที่อาจยังไม่แน่ใจถึงผลตรวจ ที่ปัจจุบันมีความถูกต้อง  98%

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการตรวจวินิจฉัยแบคทีเรียสาเหตุกุ้งตายด่วน หรือ อีเอ็มเอสขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ศึกษาถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยแบคทีเรียสาเหตุกุ้งตายด่วนโดยวิธีพีซีอาร์ (PCR) ร่วมกับนักวิจัยไบโอเทคอย่างใกล้ชิด

ดร.กัลยาณ์  ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ  นักวิจัยจากไบโอเทค เล่าถึงที่มาของการพัฒนาชุดตรวจนี้ว่า โรคกุ้งตายด่วนหรืออีเอ็มเอส เริ่มมีการระบาดครั้งแรกในจีนเมื่อปี 2552 และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วสู่เวียดนาม  มาเลเซียและไทย
ผลกระทบจากการระบาดทำให้เมื่อปี 2556 อุตสาหกรรมกุ้งไทย มีผลผลิตกุ้งลดลงถึง  54 % หรือมีผลผลิตลดลงเหลือเพียง 250,000 ตัน จากเดิมที่ผลิตได้ประมาณ 500,000 ตันต่อปี

ในขณะที่ภาพรวมของผลกระทบจากการระบาดในอีกหลายประเทศ ทำให้การผลิตกุ้งเลี้ยงของโลกลดลงประมาณ 11%

ดร.กัลยาณ์  บอกว่า จากการศึกษาตัวอย่างกุ้งตายด่วนจากเกษตรกร พบว่ามีโรคของตับและตับอ่อนวายฉับพลัน เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากการปล่อยลูกกุ้งลงบ่อดินไม่เกิน 35 วัน

ต่อมาเมื่อปี 2556 ได้มีการตรวจพบว่าแบคทีเรียที่ก่อโรคนี้คือแบคทีเรียในกลุ่ม Vibrio parahaemolyticus  หรือเรียกง่ายว่า วี.พี.

ทั้งนี้แบคทีเรียดังกล่าวสามารถพบได้ในธรรมชาติ และมีทั้งทำให้ก่อโรคและไม่ก่อโรค  ทำให้ต้องมีการวิจัยเชิงลึก

ซึ่งคณะวิจัยไทยที่นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทิโมที วิลเลี่ยม  ฟลีเกล  ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ซึ่งหน่วยวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของไบโอเทคและคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมมือกับคณะวิจัยจากไต้หวัน  ศึกษาแบคทีเรียดังกล่าวด้วยเทคโนโลยีจีโนม เพื่อหารหัสพันธุกรรมของแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ทำให้ก่อโรคกุ้งตายด่วน

และนำไปสู่การพัฒนาชุดตรวจแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคกุ้งตายด่วนด้วยเทคนิคพีซีอาร์

นักวิจัยบอกว่า ชุดตรวจนี้สามารถตรวจหาเชื้อดังกล่าวได้แม่นยำถึง 98%

เน้นวิธีการตรวจที่ง่าย สามารถใช้ห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ทั่วไปตามฟาร์มต่าง ๆ ได้ และเหมาะสำหรับการตรวจยืนยันการปลอดโรคของลูกกุ้ง  สร้างความมั่นใจให้เกษตรกรก่อนที่จะซื้อไปเลี้ยง

สำหรับเป้าหมายการวิจัยต่อไป คือการศึกษาเพิ่มเติมว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แพร่กระจายจากไหน  ส่วนการระบาดของโรค ทีมวิจัยได้ร่วมกับกรมประมงศึกษาถึงปัจจัยที่เหมาะสมของการก่อโรค

นอกจากนี้ ยังจะมีการศึกษา เพิ่มเติมว่าการติดเชื้อโรคกุ้งอื่น ๆ ส่งผลต่อการก่อโรคกุ้งตายด่วนที่รุนแรงเพิ่มขึ้น หรือไม่   รวมถึงการศึกษาถึงโปรตีนในการสร้างพิษ ที่จะนำไปสู่การพัฒนายารักษาโรค  และหาวิธีการตรวจโรคกุ้งที่แม่นยำ 100% ในอนาคต

งานวิจัยชิ้นนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการแก้ไขปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค  และสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมกุ้งไทยต่อไป.

รายการอ้างอิง :

นาตยา คชินทร . (2557). แก้ปัญหากุ้งตายด่วนกับชุดตรวจจีโนม. เดลินิวส์ (ไอที). ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/IT/234063/แก้ปัญหากุ้งตายด่วนกับชุดตรวจจีโนม+-+ฉลาดคิด.– ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− seven = 0

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>