magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ไขความลับภารกิจ “ดิ่งนรก” เหนือความเร็วเสียง
formats

ไขความลับภารกิจ “ดิ่งนรก” เหนือความเร็วเสียง

ข่าวการดิ่งพสุธาที่ทำลายสถิติโลก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมาของ Felix Baumgartner อดีตทหารชาวออสเตรียวัย 43 ปี ด้วยการกระโดดร่มดิ่งพสุธาจากบอลลูนติดแคปซูลอวกาศ ที่ชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ อยู่เหนือพื้นดิน 39 กิโลเมตร หรือ 128,000 ฟุต และถือเป็นการทำลายสถิติเดิมที่ โจ กิตติงเจอร์ (Joe Kittinger) ทหารอากาศสหรัฐฯ เคยทำไว้ในปี 1960 หรือเมื่อ 52 ปีที่แล้ว ที่ระดับความสูง 31.3 กิโลเมตร สถิติโลกนี้ได้ถูกบันทึกไว้แล้วแต่เชื่อหรือไม่ว่าจากภารกิจดิ่งพสุธาท้านรกด้วยความเร็วกว่าเสียงนี้ยังทำให้เกิดสถิติโลกขึ้นใหม่อีกหลายอย่างด้วยกัน

ฟีลิกซ์ บามการ์ทเนอร์ ขณะเตรียมกระโดดจากความสูงกว่า 39.045 กิโลเมตรในชั้นสตราโทสเฟียร์ (ภาพประกอบจาก รอยเตอร์)

การดิ่งพสุธาสะท้านโลกของ Felix Baumgartner นอกจากจะทำลายสถิติโลกที่ โจ กิตติงเจอ (Joe Kittinger) ได้เคยทำไว้เมื่อ 52 ปีก่อนแล้ว จากการดิ่งพสุธาในครั้งนี้ยังก่อให้เกิดการสร้างสถิติโลกขึ้นใหม่อีก 5 อย่างคือ

  1. กระโดดร่มลงมาจากที่สูงที่สุดในโลก สถิติที่ทำไว้อยู่ที่ 39 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล ในบริเวณชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (stratosphere) เหนือ นิวเม็กซิโก จากบอลลูนฮีเลียมขนาดยักษ์
  2. ดิ่งลงมาแบบอิสระ(Free fall ยังไม่ดึงร่มชูชีพ)ด้วยความเร็ว 1,343 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 1.24 มัค(1 มัค เท่ากับความเร็วเสียง) ทำให้เขาครองตำแหน่งมนุษย์ที่ทำความเร็วแบบดิ่งลงมาอิสระสูงที่สุดในโลก
  3. เป็นมนุษย์ที่ดิ่งลงมาแบบอิสระเป็นระยะทางไกลที่สุดในโลก
  4. เป็นมนุษย์ที่โดยสารบอลลูนฮีเลียมขึ้นไปสูงที่สุดในโลก 36,500 จากระดับน้ำทะเล
  5. มียอดผู้ชมถ่ายทอดสดการทำสถิติผ่าน Youtube สูงที่สุดในโลก โดยมียอดผู้ติดตามชมถึง 8 ล้าน

ทำไม Felix Baumgartner ถึงดิ่งพสุธาจากขอบชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็ว เกิดแรงเสียดสีอย่างรุนแรงถึงไม่ได้รับอันตราย?

เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ “ชุดควบคุมความดัน” ที่ Felix Baumgartner ใช้สวมใส่ในการปฏิบัติภารกิจดิ่งนรก โดย Felix Buamgartner จะต้องสวมชุดควบคุมความดันเพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยจากอุณหภูมิหนาวเหน็บ แสงแดด รังสี โดยชุดควบคุมความดันนี้ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

  1. หมวกนิรภัยที่ด้านติดตั้งกระจกนิรภัยฉาบด้วยวัสดุป้องกันความร้อนแสงอาทิตย์ ภายในหมวกมีติดตั้งลำโพง และไมค์สำหรับติดต่อกับภาคพื้นดิน
  2. ด้านหลังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ร่มชูชีพหลัก และสำรอง
  3. ที่หน้าออกมีเป็นกระเป๋าอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยเครื่อง GPS (สำหรับระบุพิกัด) เครื่อง IMU (เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคสำหรับตรวจวัดความเร็ว ตรวจสอบระนาบว่าหงาย พลิก คว่ำ เงย และแรงดึงดูด)
  4. ด้านข้างมีสายกระตุกร่มชูชีพ โดยด้านขวาเป็นร่มหลัก ส่วนด้านซ้ายเป็นร่มสำรองใช้เมื่อร่มหลักไม่ทำงาน
  5. ท่อนแขนซ้ายคาดด้วยอุปกรณ์วัดความสูง(Altimeter)
  6. ท่อนแขนขวาเป็นระบบควบคุมความดัน
  7. โคนขาทั้งสองข้างมีกล้องความละเอียด HD
  8. ชุดมีสี่ชั้น ประกอบด้วย
    • ชั้นในสุดเป็นเส้นใยอ่อนนุ่มเพื่อให้สวมใส่สบาย
    • ชั้นต่อมาเป็นชั้นก๊าซ
    • ชั้นต่อมาเป็ชั้นตะข่ายป้องกันการฉึกขาด
    • ชั้นนอกสุดคือชั้นกันไฟและฉนวนความร้อน

แผนภาพแสดงภาระกิจดิ่งนรกของ Felix Baumgartner

  • เฟส 1 ปล่อยบอลลูนฮีเลียมขนาดยักษ์ที่ห้อยแคปซูลที่บรรทุก  Felix Baumgartner
  • เฟส 2 บอลลูนลอยมามากว่า 3 ชั่วโมง และเริ่มเข้าสู๋ขอบเขตของอวกาศ
  • เฟส 3 Felix Baumgartner เปิดแคปซูลออกมาแล้วกระโดดออกมา
  • เฟส 4 เมื่อ Felix Baumgartnerสามารถทำความเร็วทะลุความเร็วเสียง ระบบค้ำจุลชีวิตจะเริ่มทำงานทั้งระบบควบคุมออกซิเจน และควบคุมความดัน
  • เฟส 5 เมื่อดิ่งลงมาแบบอิสระเป็นระยะเวลาประมาณ 6 นาที แรงต้านทานอากาศจะเริ่มชลอความเร็วในการดิ่งลงมา
  • เฟส 6 Felix Baumgartner ดึงร่มชูชีพ
  • เฟส 7 Felix Baumgartner ลงสู่พื้นโดยปลอดภัยหลังดึงร่มชูชีพไปประมาณ 10 นาที
  • เฟส 8 บอลลูน และแคปซูลลงสู่พื้น เป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจ

จากภารกิจดิ่งพสุธาท้านรกนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อความสนุกเท่านั้น โดย Felix Baumgartner ได้กล่าวไว้ว่า “ปฏิบัติการนี้ไม่ใช่แค่การเสี่ยงตายทำลายสถิติเดิมเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายคือเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อมาตรการกู้ชีวิตมนุษย์อวกาศและนักบิน และอาจรวมถึงนักท่องเที่ยวอวกาศต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่ามนุษย์สามารถทะลุความเร็วเหนือเสียงที่ชั้นสตราโทสเฟียร์และกลับสู่โลกได้ จึงนับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ระดับขอบอวกาศ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีระเบียบดังกล่าว”

จากภารกิจดังกล่าวนี้หากไม่มีการเตรียมการที่ดี หรือวางแผนการปฏิบัติภารกิจด้วยความรอบครอบภารกิจนี้อาจจะเป็นภารกิจที่เสี่ยงตายที่สุดก็เป็นได้ ตามที่ได้เคยเขียนบอกเล่าไว้ในเรื่อง 5 โอกาสเสี่ยงตายเมื่อ “ดิ่งพสุธาจากขอบอวกาศ”

แหล่งที่มา:

Mission to the Edge of Space. [online]. Available : http://www.redbullstratos.com/gallery/?mediaId=media1917278604001. (1 November 2012).
มนุษย์ดิ่งนรก ทะลุกำแพงเสียง Felix Baumgartner.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://wowboom.blogspot.com/2012/10/felix-baumgartner.html#more. (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2555).– ( 373 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − = 5

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>