ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารยุคดิจิตอลกำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนยุคนี้ เราทุกคนกำลังพยายามปรับตัว และเรียนรู้เคลื่อนเข้าหาการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารช่องทางใหม่ ล่าสุด ที่คนไทยเพิ่งได้ทำความรู้จักกับทีวีดิจิตอล แม้แต่คนหูหนวกหรือพิการทางการได้ยินเองที่มีประมาณ 800,000 คน ย่อมต้องการการเข้าถึงเช่นกัน
วันนี้ “ไทยรัฐออนไลน์” จึงขอพาไปรู้จักกับหนึ่งวิชาชีพเล็กๆ แต่เป็นอีกหนึ่งงานสุดพิเศษที่มีส่วนช่วยส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมในการเข้าถึงสื่อ
วิชาชีพ “ล่ามภาษามือ” ช่องทางสำหรับผู้พิการทางการได้ยินให้ได้รู้จักโลกของการสื่อสารดิจิตอลมากยิ่งขึ้น
นายไพรวัลย์ แสงสุนทร นายกสมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย เล่าให้ “ไทยรัฐออนไลน์” ฟังว่า ล่ามภาษามือ คือ บุคคลที่ทำหน้าที่แปลข้อความระหว่างคนหูหนวกกับคนที่สามารถได้ยินเสียงได้ แปลจากภาษาพูดเป็นภาษามือ ให้กับคนหูหนวกเข้าใจ ถือเป็นตัวกลางของการสื่อสารนั่นเอง
ความแตกต่างทางภาษามือแต่ละที่ ทุกประเทศมีภาษามือเฉพาะ…
ภาษามือมีลักษณะเฉพาะแต่ละของประเทศ ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ คนหูหนวกจะมี “ภาษามือไทย” เป็นภาษาของเขา นอกจากนี้ยังมีภาษามืออีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ภาษามือสากล จะใช้ในโอกาสที่คนหูหนวกจากหลายๆ ประเทศมาประชุมร่วมกัน
รายการอ้างอิง :
2557. ทำความรู้จัก ‘ล่ามภาษามือ’อาชีพเพิ่มความเท่าเทียมในยุคทีวีดิจิตอล. ไทยรัฐออนไลน์. ค้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557. จาก http://www.thairath.co.th/content/424290.– ( 43 Views)