magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เคพกูสเบอรี่อนาคตสดใส – เกษตรทั่วไทย
formats

เคพกูสเบอรี่อนาคตสดใส – เกษตรทั่วไทย

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2425 ได้มีกลุ่มคนจากบ้านสาขันหอม ต.แม่เจดีย์   อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ได้เข้าไปหาของป่าและได้พบต้นเมี่ยงขึ้นในบริเวณแห่งนั้น จึงได้ชักชวนคนอื่น ๆ ในหมู่บ้านมาถางหญ้าบริเวณต้นเมี่ยงเหล่านั้นเพื่อเก็บเมี่ยงมาถนอมเป็น เมี่ยงหมักเพื่อบริโภคและจำหน่ายในตลาดใกล้เคียง

ต่อมามีจำนวนคนเข้ามาทำมาหากินและอยู่อาศัยมากขึ้นจนกลายเป็นหมู่บ้าน ใหญ่ในที่สุดและมีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านเรียกขานกันว่าบ้านห้วยน้ำกืน การประกอบอาชีพก็ยังคงหาของป่าและเก็บใบเมี่ยงมาหมักขาย ต่อมาได้มีหน่วยงานราชการเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิด ที่ไม่กระทบต่อสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของจังหวัดเชียงราย หนึ่งในนั้นก็คือ เคพกูสเบอรี่ ซึ่งประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี

เคพกูสเบอรี่ เป็นไม้ผลขนาดเล็ก รสชาติเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดจากประเทศบราซิล เป็นพืชตระกูลเดียวกับพริก มะเขือ มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ พิทูเนีย แต่เดิมมีชื่อภาษาไทยว่า “โทงเทงฝรั่ง” เนื่องจากมีลักษณะเหมือนกับต้นโทงเทงที่เป็นวัชพืช ต่อมามีการเรียกชื่อใหม่ว่า “ระฆังทอง” และการนำมาส่งเสริมให้ราษฎรปลูกเชิงพาณิชย์ก็เป็นหนึ่งในผลผลิตจากงานส่ง เสริมและพัฒนาไม้ผลขนาดเล็ก ของมูลนิธิโครงการหลวงที่ส่งเสริมให้ราษฎรปลูกในพื้นเชิงเขา  เพื่อเป็นพืชทดแทนการปลูกฝิ่นพืชยาเสพติด

โดยทางมูลนิธิทำการเพาะเมล็ดประมาณ 1 เดือนแล้วจึงย้ายกล้าปลูกส่งให้   กับราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งที่แห่งนี้จะปลูกในป่าใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ ใช้ระยะปลูกต่อต้น 1.51.5 หรือ  22 เมตร พันธ์ุไม้ชนิดนี้เป็นพืชประเภทเนื้อไม้นิ่มอยู่ได้ข้ามปี  แต่นิยมปลูกปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 0.90–1.8 เมตร กิ่งก้านแผ่กระจายออกเป็นพุ่มสีค่อนข้างม่วง ใบอ่อนนุ่ม  รูปหัวใจ ยาวประมาณ 6–15 เซนติเมตร ตาดอกเกิดขึ้นตรงข้อกิ่ง ดอกสีเหลืองเข้ม มีจุดสีน้ำตาลม่วง 5 จุดที่โคนดอก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ หลังกลีบดอกร่วง กลีบเลี้ยงสีเขียวจะหุ้มผลไว้ จากนั้น 70–80 วัน กลีบเลี้ยงเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว ผลข้างในมีสีเหลืองทองจึงเก็บเกี่ยวได้

ผลเคพกูสเบอรี่มีลักษณะกลมเกลี้ยง  ผิวเรียบเป็นมัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1–2 นิ้ว เนื้อผลนุ่มฉ่ำแทรกด้วยเมล็ดสีเหลืองรสหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ คล้ายสับปะรดผสมมะเขือเทศ หรือ มะเขือเทศผสมองุ่น แต่มีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากกว่า การใช้ประโยชน์ทางอาหาร เช่น แยม ซอส พายน์  พุดดิ้งกวน ไอศกรีม รับประทานเป็นสลัดผลไม้ น้ำปั่น จุ่มน้ำผึ้ง จุ่มผลด้วยช็อกโกแลต  เป็นผลไม้ที่มีคุณค่า อุดมไปด้วยวิตามินซี ที่มีคุณสมบัติป้องกันไข้หวัด ภูมิแพ้ วิตามินเอป้องกันอาการตาบอดในที่มืด ทำให้สายตาดี  ผิวพรรณสวย  ผมสวยดกดำ

เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้ร่วมกับส่วนประสานงานโครงการพระราชดำริ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (จังหวัดเชียงราย) นำคณะสื่อมวลชนในโครงการสื่ออาสาสืบสานพระราชดำริ เข้าเยี่ยมชมการดำเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของหมู่บ้าน นับตั้งแต่การจัดทำฝายชะลอความชุ่มชื้น และฝายกึ่งถาวร เพื่อการใช้ประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่และบรรเทาการชะล้างผิวดินของน้ำฝนใน ช่วงหน้าฝน พบว่า ราษฎรในหมู่ บ้านมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา ด้วยมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการทำการเกษตรแบบพึ่งพาที่คนกับป่าอยู่ กันได้แบบอิงอาศัย แนะนำและให้พันธ์พืชที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องใช้สารเคมีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการเพาะปลูก เช่น เคพกูสเบอรี่ ที่กล่าวมาข้างต้น

ปัจจุบันราษฎรในหมู่บ้านไม่ตัดไม้ทำลายป่าเช่นอดีตที่ผ่านมา ตรงกันข้ามได้มีการเฝ้าระวังและช่วยกันดูแลรักษาผืนป่าอย่างเต็มที่ เพราะความสมบูรณ์ของป่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจของหมู่ บ้านอย่างเคพกูสเบอรี่ ไม้ให้ผลที่อาศัยร่มเงาของไม้ใหญ่ในการเจริญเติบโต

ที่สำคัญสำหรับไม้ให้ผลชนิดนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เนื่อง จากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ราบโดยทั่วไป

รายการอ้างอิง :

เคพกูสเบอรี่อนาคตสดใส – เกษตรทั่วไทย. เดลินิวส์ (เกษตร). วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555.

– ( 249 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine + 7 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>