magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข จุฬาฯวิจัยสมุนไพรไทย “ลดไข้”
formats

จุฬาฯวิจัยสมุนไพรไทย “ลดไข้”

เภสัชจุฬาฯ ร่วมกับเอกชนไทย แถลงผลงานวิจัยสมุนไพรไทย “ลดไข้” ผลักความร้อน ไม่สะสมในตับ ชวนคนไทยเลิกทานพาราเซตามอล

ศูนย์วิจัย CAPP INOVATIVE RESEARCH and DEVELOPMENT CENTER (CIRD) ร่วมมือกับ หน่วยปฏิบัติการวิจัยสารทรงฤทธิ์ชีวภาพเพื่อนวัตกรรมทางคลินิก (Bioactive Resources for Innovative Clinical Applications Research Unit) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำวิจัยประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ในการปรับสมดุลร่างกาย

พบว่า “โกฐน้ำเต้า” และ “บอระเพ็ด” ช่วยลดไข้ แถมช่วยผลักความร้อนออกจากร่างกาย เพิ่มการขับถ่ายที่ดี อาสาสมัครเกินครึ่ง พึงพอใจ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการลดไข้ หลีกเลี่ยงยาที่เป็นอันตรายต่อตับ และไต ซึ่งยาพาราเซตตามอล เป็นสาเหตุใหญ่ในทุกวันนี้ โดยมีคนที่เป็นโรคตับ เป็นจำนวน 365 ล้านคนทั่วโลก

ดร.นำกฤติ จีรพุทธิรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.เอ.พี.พี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการรับประทานยาพาราเซตามอลเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นอันตรายต่อตับและไต ถ้ามีการรับประทาน โดยไม่มีฐานความรู้อย่างถูกต้อง

อีกทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนารวมถึงทาง อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ต้องออกมารณรงค์ให้ตระหนักถึงการใช้ยาพาราเซตามอล ทำให้กระแสของยาบรรเทาไข้ถูกเปลี่ยนไปในรูปแบบของยาที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ (Alternative Medicine) มากขึ้น ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และบางประเทศในยุโรป ได้จัดให้ยาที่ทำจากสารสกัดธรรมชาติ (Alternative Medicine) เข้าไปอยู่ในระบบการประกันสุขภาพ (Health Insurance) ด้วย

ทั้งนี้ทางศูนย์วิจัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาของ CAPP GROUP ได้รับความร่วมมือจาก หน่วยปฏิบัติการวิจัยสารทรงฤทธิ์ชีวภาพเพื่อนวัตกรรมทางคลินิก (Bioactive Resources for Innovative Clinical Applications Research Unit) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันทำการวิจัยโดยนำเอาภูมิปัญญาด้านศาสตร์สมุนไพรมาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้ได้คุณสมบัติของสมุนไพรที่ชัดเจนแน่นอน มาทดแทนการใช้ยาสังเคราะห์ในการบำบัดรักษา และเป็นการลดปริมาณการนำเข้ายาจากต่างประเทศ

ด้าน นายแพทย์สรรชัย วิโรจน์แสงทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย CAPP INOVATIVE RESEARCH and DEVELOPMENT CENTER (CIRD) เปิดเผยว่า ผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับศาสตร์สมุนไพรอันประกอบด้วย โกฐน้ำเต้า (Rheum palmstum L.) และ บอระเพ็ด (Tinospora Crispa L.) ถูกค้นพบว่าสรรพคุณทางยาของสมุนไพร โกฐน้ำเต้า เป็นอนุพันธ์ของแอนทราควิโนน (Anthaquinone) มีเซนโนไซด์ บี (Sennosides B) เป็นสารที่จะเริ่มออกฤทธิ์ หลังจากรับประทานยาไปแล้ว 6-8 ชั่วโมง รักษาอาการท้องผูกเฉียบพลัน ใช้สำหรับขับถ่ายของเสียจากลำไส้ก่อนการผ่าตัด และ บอระเพ็ด มีสรรพคุณในการลดไข้และความร้อนในร่างกาย มีส่วนในการลดการสูญเสียน้ำในร่างกาย และเมื่อนำมารวมกันจะช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย ลดไข้และปรับระบบการขับถ่ายให้ดีขึ้น

ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเวลามีไข้ มือและเท้าจะเย็น แต่ศีรษะร้อน เนื่องจากผิวหนังขาดออกซิเจน ถ้าอุณหภูมิที่ผิวหนังต่ำมาก ก็จะเกิดการสั่นของกล้ามเนื้อ ดังที่เห็นว่าเวลามีไข้แล้วจะหนาวสั่น การทำให้มีเหงื่อออก เป็นการเผาผลาญระบบภายใน ส่งผลดีต่อร่างกาย อุณหภูมิร่างกายจะเข้าสู่สภาวะปกติ และยังช่วยเพิ่มการผลิตภูมิต้านทานในร่างกาย

ดังนั้นหลักการผลักความร้อนออกจากร่างกาย จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการลดอุณหภูมิในร่างกาย เป็นส่วนหนึ่งในการลดไข้ ซึ่งความร้อนจะถูกระบายออกได้ 3 ทางคือ 1. ทางผิวหนัง ระบายความร้อนออกได้ประมาณร้อยละ 87.5 เนื่องจากร่างกายมีเนื้อที่พื้นผิวมาก และมีเลือดมาเลี้ยงมาก 2. ทางลมหายใจ จะสามารถระบายความร้อนได้ประมาณร้อยละ 10.7 และ 3. ทางปัสสาวะและอุจจาระ ที่ระบายความร้อนออกได้ประมาณร้อยละ 17 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การขับถ่ายที่ดีเป็นปัจจัยส่งผลให้อาการไข้ทุเลาลงได้เร็วขึ้นด้วย

นายแพทย์สรรชัย กล่าวต่อไปว่า การวิจัยในครั้งนี้ สืบเนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูล และสถิติการใช้ยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการไข้ หรือแก้ปวด และพบว่าได้ก่อให้เกิดอัตรายมากที่สุด คือ พิษต่อตับ ทำให้ตับวายรองมาเป็นเรื่องของ การเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นทำให้ส่งผลต่อร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ ดังนั้นทางที่ดี ก่อนกินยาอะไร ควรอ่านฉลากยาให้ละเอียดเสียก่อน และหากไม่แน่ใจว่าเป็นยาอะไร เป็นยาสูตรผสมหรือไม่ ก็ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนทุกครั้ง

รายการอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. จุฬาฯวิจัยสมุนไพรไทย “ลดไข้”. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555.– ( 509 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− 7 = one

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>