magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ชีวมวล ฮีโร่ตัวจริง
formats

ชีวมวล ฮีโร่ตัวจริง

อนาคตอันใกล้พลังงานใหม่จะเข้ามาทดแทน หลายประเทศขานรับฮีโร่ตัวจริงที่ชื่อว่า “พลังสะอาด” พวกเขามาเป็นแก๊ง

อนาคตอันใกล้พลังงานใหม่จะเข้ามาทดแทน หลายประเทศขานรับฮีโร่ตัวจริงที่ชื่อว่า “พลังสะอาด” พวกเขามาเป็นแก๊ง ทั้งพลังงานจากพันธุ์พืช (ไบโอดีเซล) เศษพืช (ชีวมวล) ขยะ น้ำและนิวเคลียร์

เอเชียฟันธง”ชีวมวล”

หลังจากเข้าร่วมสัมมนาในงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในภาคอุตสาหกรรม “Clean Energy Expo Asia 2012” พบว่า การสังสรรค์ทางความคิดครั้งนี้ ช่วยจุดประกายการใช้พลังงานแหล่งใหม่ๆ และส่งสารให้เห็นแนวโน้วของพลังงานแต่ละประเภท เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ที่จะนำทรัพยากร และเทคโนโลยีของแต่ละภูมิภาคมาใช้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในประเทศนั้นๆสำหรับประเทศญี่ปุ่นที่มีวิวัฒนาการด้านพลังงานไม่หยุดยั้งและใช้พลังงานจากนิวเคลียร์ไปแล้ว ก็ยังให้ความสนใจพลังงานจากชีวมวล รัฐบาลสนับสนุนให้คนใช้พลังงานชนิดนี้ และร่วมมือกับเอกชนพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับด้วย เพียงเพราะต้องการลดปริมาณขยะของเหลือจากการเกษตร

ปัจจุบันประชากรแดนซากุระ เริ่มใช้พลังงานที่ได้จากพืชพลังงานและขยะการเกษตรในรูปแบบเอทานอล 30-40% และมุ่งให้มีผู้ใช้มากกว่า 50% ในปี 2556

เช่นเดียวกับมาเลเซียที่มีแนวโน้มว่า ไบโอดีเซลจะมาแรงแซงโค้ง แต่ต่างกันตรงที่พวกเขาทำความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการผลิตกับสหภาพยุโรป ไม่ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีเอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมาเลเซียยังคงใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งได้จากปาล์มในปริมาณ 5-6% จากพลังงานอื่นๆ ทั้งหมด คาดว่าจะใช้พลังงานชนิดนี้มากถึง 20% ส่วนนโยบายผลักดันของมาเลเซียนั้น กำลังเร่งให้เกิดภาษี 0% สำหรับพลังงานสะอาดและเร่งหาผู้ร่วมการลงทุนในหลายๆ ประเทศ

ส่วนประเทศอินเดียนั้น รัฐบาลยังไม่มีนโยบายส่งเสริมพลังงานสะอาด อีกทั้งเทคโนโลยีนำเข้าก็ยังมีราคาสูง หากจะมองในแง่ความต้องการของคนแดนภารตะบ้าง พวกเขายังไม่มีความตื่นตัวในการใช้พลังงานสะอาด เพราะยังมีแหล่งพลังงานอื่นๆ ที่ตอบสนองอยู่ ส่วนพลังงานที่หลายประเทศจับจ้องอย่างไบโอดีเซล ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นในอนาคนอันใกล้ เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรยังไม่เพียงพอสำหรับบริโภค ตลอดจนยังไม่มีงบประมาณสำหรับเทคโนโลยีที่ต้องนำเข้าด้วย

ไทยแอบเชียร์”นิวเคลียร์”

พิมล ทรัพย์สุนทร ผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทเอเชีย ไบโอแมส จำกัด หนึ่งในผู้ผลิตที่รวบรวมเศษวัตถุดิบจากทั่วประเทศ อาทิ กะลาปาล์ม ไม้สับ เศษไม้ยางพารา ขี้กบ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสับ เป็นต้น เพื่อส่งให้โรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่าไทยเหมาะกับพลังงานชนิดนี้เพราะเต็มไปด้วยทรัพยากรทางการเกษตร และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าน้ำมัน เทียบราคาน้ำมันลิตรละ 30 บาท แต่ชีวมวลอยู่ที่ตันละ 2-3 พันบาท ถือว่าต้นทุนต่อหน่วยต่างกันถึง 70 เท่า อีกทั้งกระแสโลกร้อนยังช่วยผลักดันการใช้ เพราะชีวมวลลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่พลังงานแสงแดดและลม ต้องลงทุนสูงมากจึงยังไม่เหมาะ

สำหรับการพัฒนาด้านพลังงานสะอาดในบ้านเรานั้น ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ นักวิชาการสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความเห็นว่า ตอนนี้ชาวบ้านรู้จักพลังงานที่ได้จากสิ่งรอบตัวกันบ้างแล้ว แต่ยังขาดความเข้าใจด้านวิศวกรรม ดังนั้น จึงต้องทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กับสอบถามการยอมรับของชุมชนด้วย

“สิ่งที่น่าจะผลักดันได้ง่ายคือ พลังงานจากของเหลือใช้จากการเกษตร เช่น มูลสัตว์ เศษพืช รวมทั้งพลังงานน้ำ การนำไปใช้ต้องดูศักยภาพทางภูมิศาสตร์เป็นสำคัญ และถามความเห็นคนในพื้นที่ เราต้องเอาเทคนิคต่างๆ มาผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ได้ เช่น เมื่อชาวบ้านหมักพืชหรือมูลสัตว์เพื่อทำปุ๋ยอยู่แล้ว เราก็เข้าไปบอกเขาว่า มันยังมีก๊าซที่สามารถนำมาใช้หุงข้าว เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้หมุนเวียนในฟาร์มได้ แล้วเราก็เอาท่อต่อถังเชื่อมกับเตาให้เขาเห็นว่ามันมีแก๊สออกมาจริงๆ จากนั้นค่อยให้เขาเรียนรู้เทคโนโลยีขั้นสูง”

ส่วนพลังงานจากขยะในครัวเรือน ยังไม่เป็นที่นิยม ถึงแม้ระบบการรีไซเคิลจะมีคุณภาพ แต่ยังมีปัญหากับการกำจัดความชื้นของขยะครัวเรือน

อาจารย์วันเพ็ญเผยว่าอีก17 ปี ก๊าซหมดแน่นอน และเชื่อว่าพลังงานทดแทนอื่นๆ ก็จะมีต้นทุนสูงขึ้น แต่สำหรับเทคโนโลยีนิวเคลียร์นั้น โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีทั้งได้และไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจภาคประชาชนถึงความสำคัญของพลังงานนิวเคลียร์ คือปริมาณของพลังงานมหาศาล ซึ่งจะเพียงพอต่อการอุปโภคของมนุษย์ในอนาคต

รายการอ้างอิง :

ชฎาพร นาวัลย์. ชีวมวล ฮีโร่ตัวจริง. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที 2 พฤศจิกายน 2555.– ( 190 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


7 − five =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>