magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก แผ่นดามกระดูก 1 ปีย่อยสลายเกลี้ยง
formats

แผ่นดามกระดูก 1 ปีย่อยสลายเกลี้ยง

แผ่นดามกระดูกใช้ซ่อมขากรรไกรและใบหน้าจากอุบัติเหตุ ผลิตจากพลาสติกย่อยสลายได้ใน 1 ปี ไม่ต้องผ่าตัดซ้ำเจ็บตัวซ้ำ

นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยในงานแถลงข่าวความร่วมมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จากพอลิเมอร์ที่ดูดซึมได้ชนิด Poly (lactic-co-glycolic) acid (PLGA) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และกระทรวงสาธารณสุขว่า ผลสำเร็จจากการโครงการวิจัยและพัฒนารากฟันเทียมของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในช่วงที่ผ่านมา นำไปสู่การพัฒนาวัสดุเครื่องมือแพทย์อย่างจริงจัง ตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำ ไปจนถึงผู้ใช้ที่ปลายน้ำ ซึ่งเขามองว่า ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตการซ่อมแซมโครงสร้างของใบหน้าที่และขากรรไกรที่เสียหายจากอุบัติเหตุ โดยปกติจะใช้โลหะไททาเนียมทางการแพทย์เพื่อยึดตรึงกระดูก และรอให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน แต่ ณ ปัจจุบันมีการพัฒนาพลาสติกชนิดพิเศษหรือพอลิเมอร์ที่ดูดซึมได้ ที่สามารถย่อยสลายไปใน 1 ปี หลังจากที่ร่างกายมีการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยไม่ต้องผ่าตัดเอาวัสดุที่ยึดตรึงอยู่ออกในภายหลัง “พอลิเมอร์ที่ดูดซึมได้ มีต้นทุนการนำเข้าสูงถึงชิ้นละ 5 พัน -1 หมื่นบาท ทำให้การรักษาผู้ป่วยมีข้อจำกัด ด้วยเหตุนี้ จึงได้เกิดโครงการความร่วมมือดังกล่าว

ระหว่างนักวิจัย ผู้ผลิตวัตถุดิบ และหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาวัสดุทางการแพทย์จากพลาสติกชนิดใหม่ ที่ได้มาตรฐาน มีต้นทุนลดลง 70-80%” ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าว

นพ.วิจิตร ธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กล่าวเสริมว่า โครงการดังกล่าวใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 ปี ด้วยเงินลงทุนประมาณ 80 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทำให้ได้ แผ่นดามกระดูกใช้ซ่อมขากรรไกรและใบหน้าที่เสียหายจากอุบัติเหตุ ที่สามารถย่อยสลายได้ใน 1 ปี

“หัวใจสำคัญของการพัฒนาวัสดุฝังใน คือการบวนการผลิตต้องได้มาตรฐาน ISO13485 ตลอดจนมีการทดสอบผู้ป่วยจริง ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สำหรับการทดลองในสัตว์ และกระทรวงสาธารณสุข สำหรับขั้นตอนการวิจัยในอาสาสมัคร 30 รายที่สูญเสียใบหน้าและขากรรมไกรจากอุบัติเหตุ” นพ.วิจิตร อธิบาย

ในส่วนของการวิจัยสูตรที่เหมาะสมของพอลิเมอร์ที่ดูดซึมได้ภายในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เสร็จสิ้นแล้ว พร้อมทำมาตรฐาน และขยายขนาดกำลังการผลิตให้เหมาะสม โดยพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในครือ ปตท. และการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งวัสดุดังกล่าว นอกจากแผ่นดามกระดูกที่ย่อยสลายได้แล้ว ยังสามารถพัฒนาเป็นสกรูทางทันตกรรม ไหมละลาย กระดูกเทียม รวมถึงท่อนำเส้นประสาท ซึ่งจะช่วยสร้างศักยภาพในการผลิตเครื่องมือแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านบาทต่อปี

รายการอ้างอิง :

จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา. แผ่นดามกระดูก 1 ปีย่อยสลายเกลี้ยง. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). วันที่ 6 พฤศจิกายน 2555.– ( 235 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 × three =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>