คณะนักวิจัยจาก NYU School of Medicine เปิดเผยว่า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานในเด็กและวัยรุ่นนั่นก็คือ ระดับความเข้มข้นของ bisphenol A (BPA) ที่ตรวจพบในปัสสาวะ ซึ่งสาร BPA มาจากกระบวนการ สังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการสั่งห้ามใช้สาร BPA ในขวดนมและขวดหัดดื่มสำหรับเด็กทารกโดยองค์การอาหาร และยาสหรัฐฯ (FDA) ตามที่ได้เสนอในรายงานข่าววิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจากวอชิงตันฉบับประจำเดือนกันยายน 2555 มาแล้วนั้น แต่ก็ยังมีการใช้สาร BPA กันอย่างแพร่หลายใน การผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม ตัวอย่างเช่น ภาชนะบรรจุน้ำอัดลม
สาร BPA คือ เอสโตรเจนเกรดต่ำที่ใช้ในการผลิตขวดน้ำพลาสติกที่ติกฉลากสัญลักษณ์รีไซเคลิลหมายเลข 7 และใช้เป็นตัวเคลือบภายในกระป๋องอะลูมิเนียม โดยทางผู้ผลิตกล่าวว่า แต่ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าสารเคมีมีผลให้กลไกการเผาผลาญพลังงานต่างๆ ใน ร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้น และผลจากการได้รับสาร BPA เข้าไปในร่างกายมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคความผิดปกติ ทางประสาทวิทยา (neurological disorders) โรคเบาหวาน และโรคหมัน
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนตุลาคม 2555. (ค้นข้อมูลวันที่ 5 ตุลาคม 2555 ) จาก http://www.ostc.thaiembdc.org/test2012/S&Tnewsletter– ( 170 Views)