หวายเป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่มีลำต้นเลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดิน เป็นหนึ่งในทรัพยากร ประเภทพืชหายากหรืออันตรายใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทยพบหวายมากถึง 6 สกุลคิดเป็นครึ่งหนึ่งของสกุลหวายที่มีอยู่ในโลกมากกว่า 60 ชนิด แพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคใต้ที่มีมากกว่าทุกภาค หวายสามารถนำมาบริโภคได้โดยเฉพาะคนในภาคอีสาน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้ศึกษาและวิจัยคุณค่าทางอาหารจากการบริโภคหวายพบว่า ยอดหวายมีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับหน่อไม้และผักอื่น ๆ คือมีโปรตีนมากถึง 25% มีธาตุอาหาร แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และสังกะสี แต่เนื่องจากหวายเป็นพืชที่มีหนามอยู่รอบลำต้น จึงต้องระมัดระวังในการปอกเปลือกอย่างมาก และเมื่อปอกเปลือกออกแล้ว ยอดหวายส่วนที่รับประทานได้ซึ่งมีสีขาวอมเหลือง จะเปลี่ยนสีกลายเป็นสีน้ำตาลคล้ำภายในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงได้มีการทดลองนำหวายดง หรือหวายนาผง มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หวายในน้ำเกลือ แต่ยอดหวายที่นิยมบริโภคไม่ได้มีแต่หวายดงเท่านั้น ยังมีหวายตะบอง หวายนาผง ซึ่งยังไม่มีการศึกษาคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีเลย ที่สำคัญคุณค่าทางอาหารของหวายมากกว่าหน่อไม้.
รายการอ้างอิง :
หวาย – เรื่องน่ารู้. เดลินิวส์ (เกษตร). วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2555.– ( 111 Views)