ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริการะหว่าง นายบารัค โอบามา และ นายมิทท์ รอมนีย์ ผลปรากฏว่า “บารัค โอบามา” ได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับพรรคเดโมแครตอีกครั้ง เมื่อบารัค โอบามา ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ให้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งจะครบวาระในปี 2560
ทุกๆ 4 ปี ประชาชนชาวอเมริกามีหน้าที่ที่สำคัญในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคน ต่อไปของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกานั้นซับซ้อนกว่าของประเทศอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ประชากรทุกคนของประเทศสามารถออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ต้องการ เพื่อเป็นประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง แต่การเลือกตั้งประธานธิบดีของ สหรัฐฯ เป็นการออกเสียงทางอ้อม โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้
- เริ่มต้นจากในแต่ละรัฐจะมีการจัดการเลือกตั้งย่อยเพื่อหาตัวแทนของพรรคเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
- ในแต่ละรัฐจะมีคณะผู้เลือกตั้ง หรือ Electoral College ซึ่งจะเป็นตัวแทนในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีแทนประชาชนในรัฐนั้นๆ โดยจำนวนคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐจะมาจากตัวแทนตามจำนวนของเขตการปกของ (district) ของแต่ละรัฐ และ คณะวุฒิสภาอีก 2 คน เช่น มลรัฐแคลิฟอร์เนียมี 53 เขตการปกครอง คณะผู้เลือกตั้งของมลรัฐแคลิฟอร์เนียจึงมี 55 คน (53 + 2) คณะผู้เลือกตั้งจากทุกรัฐรวมทั้งสิ้น 538 คน (มาจากตัวแทนตามจำนวนเขตการปกครอง 438 คน + วุฒิสภา 100 คน)
- เมื่อมาถึงวันอังคารแรกหลังจากวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกๆ 4 ปี ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งก็จะไปที่ศูนย์เลือกตั้งเพื่อเลือกผู้ สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีที่ตนชอบ เช่น ในการเลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมานี้ ประชาชนสามารถเลือก บารัค โอบามา มิตต์ รอมนีย์ และผู้สมัครจากพรรคเล็กอื่นๆ อีก 2 ท่าน
- การออกเสียงของประชาชนเป็นการแสดงเจตนาแก่คณะผู้เลือกตั้งในรัฐของตนว่าอยาก จะให้คณะผู้เลือกตั้งออกเสียงเลือกตั้งไปในทิศทางใด ในหนึ่งรัฐ ไม่ว่าผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ได้รับเสียงข้างมากจะได้เสียงมากกว่าผู้ สมัครคนอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน เสียงของคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้นๆ ทั้งหมดก็จะไปที่ผู้ลงสมัครผู้นั้น ดังนั้น รัฐที่มีจำนวนประชากรหรือเขตการปกครองเยอะกว่า ก็จะมีมีจำนวนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งมากกว่า ทำให้รัฐต่างๆ มีความสำคัญต่อผลการเลือกตั้งมากกว่า
- เป้าหมายของผู้ลงสมัครในวันเลือกตั้งคือ ผู้สมัครจะต้องได้เสียงจากคณะเลือกตั้งให้ได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง(ของ 538 เสียง) หรือ 270 เสียง หากผู้สมัครคนใดได้ 270 เสียงก่อนผู้นั้นก็เป็นผู้ชนะ ทั้งนี้ผลจากการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน เป็นการคำนวนจากการคำนวนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐที่จะไปยังผู้ สมัครคนนั้นๆ ประชาชนสามารถทราบผลอย่างไม่เป็นทางการหลังจากการเปิดการเลือกตั้งประมาณ 12 ชม. หรือเมื่อมลรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นรัฐสุดท้ายนับคะแนนเสร็จสิ้น
- ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือกตั้งของคณะผู้เลือกตั้งและเป็นการออกเสียงเลือก ตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ หรือ National Convention โดยคณะผู้เลือกตั้งจะมารวมตัวกัน เพื่อออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ประชาชนข้างมากในรัฐของตนเลือกไว้ แม้ว่าในประวัติศาสตร์ ยังไม่มีการเลือกตั้งครั้งใดที่ผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะพลิกผันจากผล การเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนแต่ก็ควรระลึกไว้เสมอว่า คณะผู้เลือกตั้งมีสิทธิเสรีในเลือกผู้สมัครซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวกันกับที่ ประชาชนต้องการหรือไม่ก็ได้
- วันที่ 20 มกราคม 2556 หรือ Inauguration Day เป็นวันที่ประธานาธิบดีขึ้นรับตำแหน่งและเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง ประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ
ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9319-sci-tech-news-nov
แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2555. ค้นข้อมูลวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 จาก http://www.ostc.thaiembdc.org/test2012/S&Tnewsletter– ( 278 Views)