การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคใหม่ เพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่ที่จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีและนำเทคโนโลยีเหล่านั้น ไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
จึงจำเป็นต้องสร้างเยาวชนของชาติเพื่อเข้าสู่สังคมยุคใหม่โดยการจัดสภาพแวด ล้อมใหม่ทางการศึกษาทั้งในด้านเนื้อหา สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัย ที่สาคัญประการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษา
ในระยะหลัง จะเห็นว่าเด็กและเยาวชนจากหลากหลายสถาบันไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังเรียนในสายอาชีพหรือสายสามัญต่างหันมาให้ความสนใจในการประดิษฐ์คิด ค้นหุ่นยนต์เพื่อประลองความสามารถด้านนวัตกรรมกันมากขึ้น โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้นักเรียนจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยคว้ารางวัลชมเชยจากการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ WRO 2012 : World Robot Olympiad 2011 ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล ภายใต้ชื่อทีม YB Body Balance 99 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
อ.วชิรวิทย์ ธรรมนันทาวัฒน์ อาจารย์ผู้ดูแลชุมนุม YB Robot Club รร.โยธินบูรณะ อธิบายว่า แรกเริ่มโรงเรียนได้จัดให้มีกิจกรรมชุมนุมขึ้น และ YB Robot Club เป็นกิจกรรมหนึ่งที่นักเรียนให้ความสนใจ เนื่องจากมีเรื่องของหุ่นยนต์เข้ามาเกี่ยวข้อง โรงเรียนจึงเล็งเห็นความสำคัญและต้องการให้เด็กมีทักษะเพิ่มเติมในเรื่องนี้ จึงได้จัดให้มีการอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบหุ่นยนต์ขึ้น ภายหลังผ่านการอบรมและมีความเชี่ยวชาญที่จะประกอบหุ่นยนต์ได้ ทางโรงเรียนก็จะส่งนักเรียนแต่ละทีมเพื่อไปทำการแข่งขันยังสนามจริง
การประกอบหุ่นยนต์แต่ละตัวต้องอาศัยการประกอบชิ้นส่วนตัวต่อจากชุดหุ่นยนต์ เลโก้ และมีระบบไมโครโปรเซสเซอร์ควบคู่มาให้ จากนั้นเด็กก็จะดูภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ก่อนลงมือประกอบชิ้นส่วนที่ได้รับมาให้บรรลุวัตถุประสงค์จนสำเร็จ
ส่วนวิธีการสร้างหุ่นยนต์นั้น ใช้หลักกลศาสตร์พื้นฐานเรื่องการขับเคลื่อน การทดสอบเฟือง และการทดกำลังเข้ามาช่วย ส่วนในเรื่องของแรงเฉื่อยจะอาศัยความรู้จากวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน สิ่งสำคัญคือการรับรู้ของเซนเซอร์ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นเรื่องของโปรแกรมไอทีที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ หุ่นยนต์ที่นักเรียนประกอบขึ้นมาได้สำเร็จจะต้องนำออกไปแข่งขันจริง ให้เด็กใช้ความสามารถที่มีอยู่มาสร้างเป็นผลงานออกมา มันเป็นการท้าทายผู้เรียนไปในตัว หากเด็กมีแต่การเรียนรู้วิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นการสร้างกิจกรรมเหล่านี้เด็กก็จะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยการใช้ เทคโนโลยีนั้น จะส่งผลให้เด็กรู้จักพัฒนาสิ่งที่เรียนรู้มาแบบไม่มีที่สิ้นสุด
วันนี้เด็กไทยจะเรียนรู้ทักษะทางวิชาการอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะพวกเขาต้องเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ ครูผู้สอนจึงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาหรือต่อยอดความคิดของศิษย์ บ่มเพาะให้รู้จักการจัดกระบวนการทางความคิด ความรู้และประสบการณ์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง.
รายการอ้างอิง :
กชรัตน์ ปิยจันทร์. ดึงไอทีสานต่อการเรียนรู้ – ฉลาดทันกาล. เดลินิวส์ (ไอที). วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555
– ( 135 Views)