ยุงก้นปล่อง เป็นยุงที่เป็นพาหะนำไข้มาลาเรียมาสู่ผู้คน ธรรมชาติของยุงก้นปล่องอาศัยอยู่ตามป่าเขา พบทั่วไปทุกจังหวัดของไทย แต่ที่นำโรคไข้ามาลาเรียจะพบตามชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับ พม่า เขมร เขตจังหวัดจันทบุรี ตราด สระแก้ว กาญจนบุรี เป็นต้น ภาคกลางหรือภาคอื่นๆ ก็มีแต่ไม่มีเชื้อเข้าไปเลยไม่มีโรคเกิดขึ้น ยุงก้นปล่องชอบออกหากินเวลากลางคืน ตั้งแต่ 19.00-24.00 น. ทั้งในและนอกบ้าน ที่มีป่าล้อมลอบชอบกินเลือดสัตว์ วัว ควาย และคน
ปัจจุบันโรคมาลาเรียจากยุงก้นปล่องได้คร่าชีวิตคนถึงปีละ 800,000 คน ทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพ์กินส์ ประเทศสหรับอเมริกาจึงทำการค้นควาวิจัย จนค้นพบวิธีการตัดแต่งพันธุกรรมแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ส่วนกลางของยุงก้นปล่อง เพื่อให้คายโปรตีนที่มีสภาพเป็นพิษต่อปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคมาลาเรีย โดยพิษที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อยุงหรือมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การตกแต่งพันธุกรรมของแบคทีเรียทำได้ง่ายกว่าการตกแต่งพันธุกรรมของยุงเสียอีก และจากการทดลองนี้พบว่าสัดส่วนของยุงที่เป็นพาหะของเชื้อมาลาเรียลดลงถึง 98% ปัจจุบันโรคมาลาเรีย ซึ่งหากมีการนำการทดลองนี้ไปใช้ได้จริง อัตราการป่วยด้วยโรคมาลาเรียน่าจะมีอัตราลดลงอย่างมาก
แหล่งที่มา : “เปิดโลกชีวภาพ : ตัดแต่งพันธุกรรมแก้โรคมาลาเรีย”. สานสุข สานความสุขสู่สังคม. 2 : 34 ; กันยายน-ตุลาคม 2555.– ( 167 Views)