การออกแบบหรือสร้างโปรแกรมโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆเพื่อใช้ในการจำลองการทำงานต่างๆ(Simulation) หรือใช้ในการคำนวณต่างๆนั้น ลักษณะของโปรแกรมที่ถูกนำมาใช้งานอาจมีรูปแบบในการทำงานที่มีความซับซ้อน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ออกแบบโปรแกรมในการปรับปรุงหรือแก้ไขการทำงานต่างๆ และเกิดความยากลำบากกับผู้ที่นำโปรแกรมมาทำการศึกษาหรือนำมาใช้งานในภายหลังได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดรูปแบบในการเขียนโครงสร้างของโปรแกรมต่างๆให้มีรูปแบบที่มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น [1] รูปแบบการเขียนโปรแกรม (m-file) ด้วย MATLAB [1] http://www.kmitl.ac.th/dslabs/linkinmainpage/matlabtemplate.html รูปแบบในการเขียนโปรแกรมภาษา C/C++ สำหรับรายงาน/งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ [2] http://www.kmitl.ac.th/dslabs/linkinmainpage/dslprogramtemplate.html– ( 66 Views)
News of Quantum Cryptography Science
ติดตามความก้าวหน้า ข่าววิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม 20 November 2012 นักวิจัยของ Cambridge จากห้องปฏิบัติการ Toshiba ความประสบณ์ความสำเร็จจากการลดค่าใช้จ่ายของวิทยาการกุญแจรหัสลับเชิงควอนตัม(โดยปกติมีค่าใช้จ่ายสูง) โดยการประยุกต์ใช้วิทยาการกุญแจรหัสลับเชิงควอนตัมผ่านเส้นใยนำแสง telecom ด้วยควมเร็วสูง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-13940928 17 september 2012 การวิเคราะห์วิทยาการรหัสลับแบบ classical ที่ใช้ในปัจจุบัน และแนวโน้มการใช้งานในอนาคต และ วิเคราะห์ถึงความสำคัญวิทยาการรหัสลับแบบ quantum ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นจริงในอนาคต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://arstechnica.com/security/2012/09/quantum-cryptography-yesterday-today-and-tomorrow 3 August 2012 ข่าวการประยุกต์ใช้โฟตอนเดี่ยวจากควอนตัมดอทมาใช้ในการกระจายกุญแจรหัสลับด้วยโฟตอนเดี่ยว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-19097605
QIBook2012
หนังสือ ” พัฒนาการสารสนเทศเชิงควอนตัม (Development of Quantum Information)” download :http://www.e-books.in.th/oqc-nectec หนังสือฉบับนี้ จัดอยู่ในขั้นแรกของชุดหนังสือสารสนเทศเชิงควอนตัมสี่ระดับขั้นที่จัดทำเพื่อเผยแพร่และกระตุ้นการ ตอบรับต่อความก้าวหน้าของศาสตร์ฟิสิกส์แขนงใหม่นี้ อันประกอบด้วยบทสรุปงานวิจัย และรายงานการสำรวจสำหรับผู้สนใจงานวิจัยเชิงลึกในขั้นแรก ระดับที่สองคือหนังสือแบบเรียนเชิงเทคนิคสำหรับการศึกษา ขั้นที่สามคือหนังสือบทความทางวิทยาศาสตร์ อภิธานศัพท์ สำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อพัฒนาความรู้เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสุดท้ายคือหนังสือบทวิจารณ์ การกำหนดแผนที่นำทางและวางยุทธศาสตร์งานวิจัยทางด้านสารสนเทศเชิงควอนตัมสำหรับผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายหรือสำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อวิเคราะห์แนวทางการวิจัยที่เหมาะสมต่อไป คำถามท้ายบท (Questions ) Click คำถามบทที่ 1 ภาพรวมสารสนเทศเชิงควอนตัม Click คำถามบทที่