magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "Isoprene"
formats

เชื้อเพลิงชีวภาพอาจไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) เป็นทางเลือกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ในวารสาร the journal Nature Climate Change รายงานว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนคนตายก่อนเวลาอันสมควรและลดปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งรายงานเกิดจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในการใช้พลังงานชีวภาพที่มากขึ้นในสหภาพยุโรป โดยต้นปอปลาร์ (Poplar) ต้นวิลโลว์ (Willow) และต้นยูคาลิปตัส (Eucalyotus) ซึ่งนิยมนำมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในยุโรป เนื่องจากมีการเจริญเติบโตเร็วเหมาะสำหรับการนำมาใช้ผลิตพลังงานหมุนเวียน มีการปล่อยสารไอโซพรีน (Isoprene) ในขณะเจริญเติบโต ซึ่งถ้ารวมตัวกับมลภาวะทางอากาศอื่นๆ แล้วโดนแสงแดดทำให้เกิดการสร้างก๊าซโอโซนที่เป็นพิษขึ้นมา โดยจากรายงานคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 จะมีคนตายก่อนเวลาอันควรประมาณ 1,400 คนในยุโรปต่อปี ซึ่งคิดเป็นเงินกว่า 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังลดผลผลิตต่อปีของข้าวสาลีและข้าวโพด โดยคิดเป็นเงินกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากโอโซนทำให้การเจริญเติบโตเสียหาย รายงานยังเสนอว่าควรมีการจำกัดสถานที่ในการปลูกต้นไม้ที่ใช้ผลิตพลังงานชีวภาพให้ห่างจากบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศ ซึ่งช่วยจำกัดปริมาณของก๊าซโอโซนที่มีผลต่อปอด ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายกว่า 22,000 คนต่อปีในยุโรป และพันธุวิศวกรรมอาจนำมาใช้เพื่อลดการปล่อยสารไอโซพรีน นอกจากนี้เชื้อเพลิงชีวภาพมักถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุการสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาอาหาร เนื่องจากการปลูกต้นไม้ที่ใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะไปแย่งพื้นที่เพาะปลูกเพื่อผลิตผลทางการเกษตร ดังนั้นกรรมการของยุโรปออกมาประกาศว่าจะจำกัดการปลูกต้นไม้ที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นร้อยละ 5 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 109

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments