magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "magnetic poles"
formats

ประเทศไทยได้รับการปกป้องจาก “สนามแม่เหล็กโลก”

ในขณะที่เราใช้ชีวิตท่ามกลางความวุ่นวายของสารพัดปัญหาบนโลก หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ากำลังได้รับการปกป้องจาก “สนามแม่เหล็กโลก” ที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อนุภาคที่มีประจุรุนแรงลงมาทำลายชีวิตบนโลกได้ และประเทศไทยโชคดีกว่าใครที่ตั้งอยู่บน “เส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก” ที่มีพลังปกป้องเข้มข้นกว่าใคร ดร.เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวไว้ในงานเสวนาวิชาการหลายครั้งระบุว่า “แม้ในทางภูมิศาสตร์ไทยไม่ได้ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แต่ในแง่สนามแม่เหล็กโลกนั้นไทยตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งทำให้มีสนามแม่เหล็กเข้มที่สุดและปกป้องไม่ให้อนุภาคมีประจุผ่านลงมาได้ง่ายๆ หรือได้รับผลกระทบน้อยสุดเมื่อเกิดพายุสุริยะหรือรังสีคอสมิคตรงมายังโลก โดย จ.ชุมพรมีความเข้มของสนามแม่เหล็กสูงสุด” สนามแม่เหล็กโลก (Magnetosphere) สนามแม่เหล็กโลกเกิดจากการกระบวนการไดนาโมของโลก กล่าวคือโลหะหนักที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อยู่ในแกนโลกมีการหมุนวน ทำให้เกิดสนามแม่เล็กที่เอียงทำมุมประมาณ 10 องศาจากแกนหมุนของโลก ที่ผิวโลกมีความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 30,000 – 60,000 นาโนเทสลา และความเข้มจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออยู่ห่างจากผิวโลกมากขึ้น ขั้วแม่เหล็กแบ่งออกได้เป็นสองแบบ คือ 1. ขั้วแม่เหล็ก (magnetic poles) 2. ขั้วแม่เหล็กโลก (geomagnetic poles) ขั้วแม่เหล็ก คือตำแหน่งบนโลกที่สนามแม่เหล็กโลกมีทิศทางในแนวดิ่ง กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความเอียงของสนามแม่เหล็กโลกที่ขั้วแม่เหล็กเหนือมีค่าเป็น 90 องศา ในขณะที่ความเอียงของสนามแม่เหล็กโลกที่ขั้วใต้มีค่าเป็น -90 องศา ดังนั้นเมื่อเอาเข็มทิศปกติ (ซึ่งปกติจะหมุนได้เฉาะในแนวขวาง) ไปไว้ที่ขั้วแม่เหล็กเหนือหรือขั้วแม่เหล็กใต้

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments