Jessamyn West แนะนำการสร้างรหัสผ่านที่ดีให้แก่บรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด จากบทความ How to Use Better and Stronger Passwords for Yourself and Your Patrons ซึ่งตีพิมพ์ใน Computers in Libraries ปีที่ 24 ฉบับ 2 เดือนมีนาคม 2014 หน้า 19-21 หรือติดตามอ่านได้ที่ http://www.infotoday.com/cilmag/mar14/West–How-to-Use-Better-and-Stronger-Passwords-for-Yourself-and-Your-Patrons.shtml ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการของ MetaFilten.com ได้เขียนบทความนี้ เพื่อนำเสนอแนวทางสร้างรหัสผ่านให้กับบรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด ครอบคลุมในเรื่องความสำคัญของความปลอดภัยของรหัสผ่านในการป้องกันการรุกล้ำจากบุคคลอื่นและการกระทำอันเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เคล็ดลับสำหรับการสร้างรหัสผ่านที่ดี – ( 35 Views)
เมื่อความคิดของคุณถูกนำมาใช้เป็นพาสเวิร์ด
เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ ทีมนักวิจัยได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งขึ้นมาที่สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้ด้วยคลื่นสมอง หรือที่เรียกกันว่า electroencephalograms (EEGs) ลืมสิ่งที่คุยเคยได้ยินมาทั้งหมดเกี่ยวกับพาสเวิร์ดอย่างแหวนยืนยันตนของกูเกิ้ล หรือการสแกนดวงตา รวมทั้งการยืนยันตนแบบสองขั้นตอนไปได้เลย เมื่อบรรทัดฐานของความปลอดภัย ได้ถูกยกให้สูงขึ้นแล้วด้วยพาสเวิร์ดที่ส่วนตัวที่สุดเท่าที่เคยมีมา : ความคิด จากการนำของ John Chuang จาก UC Berkeley School of Information นั้น ทีมนักวิจัยได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งขึ้นมาที่สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้ด้วยคลื่นสมอง หรือที่เรียกกันว่า electroencephalograms (EEGs) นั่นเอง ซึ่งแทนที่จะใช้ตัวอักษรและตัวเลขเป็นพาสเวิร์ด เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถใช้ความคิดเป็นพาสเวิร์ดได้ โดย Chuang และทีมงานของเขาได้พัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นด้วย headset ของ Neurosky Mindset ที่มีราคาอยู่ประมาณ 100 ดอลล่าร์ในการยืนยันผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ผ่านเทคโนโลยี Bluetooth – ( 63 Views)