magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "purine"
formats

เบสของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ

เบสเป็นส่วนประกอบย่อยหนึ่งของนิวคลีโอไทด์ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ โดยต่ออยู่กับน้ำตาลซึ่งต่ออยู่กับหมู่ฟอสเฟต เบสแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ พิวรีน (purine) ได้แก่ adenine (A) guanine (G) และไพริมิดีน (pyrimidine) ได้แก่ cytosine (C) thymine (T) uracil (U) เบส T พบเฉพาะในดีเอ็นเอ ในอาร์เอ็นเอพบเบส U แทน เบสเหล่านี้ต่อกับน้ำตาลดีออกซีไรโบสในดีเอ็นเอ ส่วนในอาร์เอ็นเอต่อกับน้ำตาลไรโบส เบสในดีเอ็นเอช่วยให้สายโพลีนิวคลีโอไทด์ 2 สายจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนเป็นเกลียวคู่ โดยเบส A เกิดพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะกับเบส T และเบส G เกิดพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะกับเบส C ที่มา : สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. “โครงสร้างและหน้าที่ของดีเอ็นเอ” ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 5-41. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments