เมื่อพุธก่อนผมพูดถึงเรื่องของแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนว่าทำ อย่างไรให้แบตหมดช้าลง โดยผมได้พูดถึงแบตเตอรี่ลิเธียม แอร์แบบใหม่ล่าสุดของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่ใช้เทคนิควิศวกรรมศาสตร์ทางพันธุกรรม แก้ไขดีเอ็นเอ เพื่อพัฒนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา โดยให้ไวรัสนั้น มีความสามารถในการเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้การชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้งสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมหลาย เท่า แต่บางคนอาจจะตั้งคำถามง่าย ๆ กับผมว่า เราจะไปคิดแบตเตอรี่แบบใหม่ลิเธียม แอร์ โดยใช้เทคนิควิศวกรรมศาสตร์ทางพันธุกรรมอะไรยาก ๆ ทำไม ทำไมเราไม่พกสายชาร์จเปล่า ๆ ติดตัวไปกับเรา เพราะสายชาร์จก็เบามากอยู่แล้ว เล็กนิดเดียว หัวชาร์จต่างหากที่หนัก แล้วปัจจุบันช่องเสียบยูเอสบี (USB) ก็ไม่ได้หายาก มีอยู่เต็มไปหมด ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ บนรถ หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปก็ยังมี ซึ่งถ้าคิดดี ๆ ก็จริงของเขานะครับ ถือว่าคนพูดมีเหตุผลที่ดีเลย สายชาร์จถ้าเป็นแบบสั้น ๆ ก็หนักไม่กี่กรัมเท่านั้นเอง แถมเดี๋ยวนี้ช่องเสียบยูเอสบีมีทั่วทุกที่จริง ๆ ผมออกจากบ้านขับรถมาทำงานก็มีช่องยูเอสบีของวิทยุในรถ พอถึงที่ทำงานก็มีช่องยูเอสบีของเครื่องคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยให้ชาร์จอีก หรือถ้าไม่มีจริง ๆ ก็ไปยืมพาวเวอร์แบงค์ของเลขาฯผมชาร์จก็ได้ เพราะถึงมือถือจะคนละรุ่นกัน แต่ปัจจุบันใช้ช่องยูเอสบีเพื่อเสียบชาร์จเหมือนกัน หรือแม้แต่ตอนไปสนามบิน เห็นคอมพิวเตอร์ของสนามบินตั้งอยู่ เราก็เอาสายไปเสียบชาร์จได้ เรียกว่าพกสายอย่างเดียวก็สบายไปแปดอย่างแล้วครับ เจอช่องยูเอสบีที่ไหนก็เสียบชาร์จได้เลย – (