magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคพาร์กินสันกับกลุ่มโปรตีน alpha-synuclein
formats

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคพาร์กินสันกับกลุ่มโปรตีน alpha-synuclein

Virginia M.-Y. Lee  Kelvin C. Luk และคณะจากมหาวิทยาลัยเพนซิเวเนียทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคพาร์กินสันกับกลุ่มโปรตีน alpha-synuclein ซึ่งเกิดมาจากก้อนโปรตีนเล็กๆ ที่เรียกว่า Lewy bodies มารวมตัวกัน ซึ่งผลการศึกษายืนยันความสัมพันธ์ระหว่างการตายของเซลล์สมองที่ผลิตสาร dopamine จากโปรตีน alpha-synuclein กับอาการสั่นของร่างกายและความไม่หยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยฉีดโมเลกุล alpha-synuclein เข้าไปที่สมองของหนูที่มีสุขภาพสมบูรณ์แล้วทำการตรวจสอบสมองของหนู เมื่อผ่านไป 30 วันพบว่าโมเลกุล alpha-synuclein แพร่กระจายไปยังเซลล์สมองอื่นๆ ข้างเคียง ซึ่งพอสรุปได้ว่าโมเลกุล alpha-synuclein สามารถเคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์ และหลังจากนั้นอีก 30 วันพบว่าการแพร่กระจายของโมเลกุล alpha-synuclein ขยายไปยังเซลล์สมองอื่นๆ มากขึ้น และเมื่อผ่านไป 6 เดือนหลังจากฉีดโมเลกุล alpha-synuclein เข้าไปที่สมองของหนูพบว่ามี  Lewy bodies ในเซลล์สมองที่ผลิตสาร dopamine ทำให้ผลิตสาร dopamine น้อยลง ส่วนการทดสอบลักษณะภายนอกพบว่าหนูวิ่งบนท่อนไม้ได้ไม่ดีเท่าเดิมเนื่องจากสมดุลไม่ดีและเกาะกรงน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับการฉีดน้ำเกลือแทน ซึ่งผลการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีนักวิจัยบางกลุ่มสนับสนุนว่าการแพร่กระจายจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์เกิดขึ้นได้ในคน โดยปลูกถ่ายเซลล์สมองของเด็กทารกเข้าไปในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อผ่านไป 14 ปี พบว่ามี Lewy bodies ในเซลล์สมองสมบูรณ์ที่ได้รับการปลูกถ่ายเมื่อ 14 ปีก่อน นอกจากการศึกษานี้ Lee และคณะกำลังศึกษาหาวิธีสร้างภูมิต้านทานเพื่อหยุดการแพร่กระจายของโมเลกุล alpha-synuclein ในสมอง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 93 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 2 = three

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>