magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ ผู้ล่าในน้ำมีผลกระทบต่อชีวิตของพืชที่กักเก็บคาร์บอน
formats

ผู้ล่าในน้ำมีผลกระทบต่อชีวิตของพืชที่กักเก็บคาร์บอน

สัตว์ใหญ่ในสายใยอาหารน้ำจืดสามารถส่งผลทางอ้อมต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ


ในระบบนิเวศทางธรรมชาติทั่วโลก สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก ขณะที่สัตว์เล็กก็กินพืชน้ำและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสายใยอาหาร การวิจัยล่าสุดพบว่า การย้ายนักล่าออกจากระบบนิเวศน้ำจืด เป็นการเพิ่มโอกาสในเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำขนาดเล็ก แต่ขณะเดียวกันเป็นการลดปริมาณของพืชน้ำและสาหร่ายซึ่งเป็นอาหารของสัตว์เล็ก โดยกลุ่มการวิจัยเชื่อว่า ผลลัพธ์ของพืชน้ำที่หายไปทำให้ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนิเวศลดลงถึงร้อยละ 93

James Estes นักนิเวศวิทยาจาก University of California เมือง Santa Cruz ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า ผลจากการวิจัยเป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจและมีความน่าเชื่อถือ เพราะมาจากนักวิจัยหลายๆกลุ่มและมีผลที่ตรงกันในเรื่องความสำคัญของนักล่าต่อการปกป้องสิ่งมีชีวิตที่กักเก็บคาร์บอนจากระบบนิเวศที่หลากหลาย

John Richardson นักนิเวศวิทยาด้านน้ำจืด จาก University of British Columbia เมือง Vancouver ประเทศแคนาดาและเป็นผู้เขียนร่วมของงานวิจัยนี้ ซึ่งได้รับตีพิมพ์ออนไลน์ในเว็บไซด์ Nature Geoscience เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2556 กล่าวว่า ผลจากการกระทำของมนุษย์และการจับปลาที่มากไป เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักล่าตามธรรมชาติสาบสูญและส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพอากาศ จนกระทั่งนำไปสู่จำนวนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศที่มากขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× seven = 14

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>