magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by satapon
formats

ผู้บริหารพบนักวิจัย: ดร.มนฤดี เลี้ยงรักษา กับรางวัล Outstanding Poster Award จากงาน 2013 MRS Spring Meeting & Exhibit

ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.มนฤดี เลี้ยงรักษา ห้องปฏิบัติการคำนวณระดับนาโน หน่วย วิจัยกลางนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยผลงานวิจัยเรื่อง “Phonon Transport in an Initially Twisted Nanowire for Thermoelectric Applications” ได้รับรางวัล Outstanding Poster Award จากงาน 2013 MRS Spring Meeting & Exhibit ในวันที่ 1-5 เมษายน 2013 ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา – ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สารประกอบเกลือแกงชนิดใหม่ เขย่าวงการเคมี

ที่มา: Beth Mole, Science News, January 25, 2014 การคิดค้นสารประกอบของโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงชนิดใหม่ โดย Artem Oganov นักเคมีจากมหาวิทยาลัย Stony Brook University รัฐนิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้จำลองสภาวะที่มีอุณหภูมิและความดันสูง จากการทดสอบ พบว่า เกิดสารประกอบตัวใหม่ขึ้น โดย Oganov กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นสิ่งท้าทาย สำหรับนักเคมี ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนอกเหนือ จากทฤษฎี ซึ่งโดยปกติแล้วอะตอมโซเดียมและคลอไรด์จับกันแบบ 1 ต่อ 1 (NaCl) ซึ่งมีพันธะ ภายในจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบในรูปทรงลูกบาศก์ แต่ในสภาวะสุดขีด (Extreme condition) ที่มีการเปลี่ยนแปลงความร้อนและความดัน สามารถเปลี่ยนปฏิกิริยาและแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง อะตอม อาทิ ความดันสูงจะสามารถเปลี่ยนพันธะไอออนนิคในสารจำพวกเกลือที่ยอมให้อิเล็กตรอน แก่อะตอมอื่น  หรือพันธะโลหะ   (Metallic bond)   ซึ่งมีอิเล็กตรอน เคลื่อนย้ายโดยรอบอย่างอิสระ ทำให้อะตอมโซเดียมและคลอไรด์สามารถจับกันได้ ในอัตราส่วน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้บริหารพบนักวิจัย: ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล และทีมวิจัย กับผลงานวิจัย “ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลวเพื่อช่วยป้องกันการสำลักในระหว่างริน” ได้รับอนุสิทธิบัตร และได้รับรางวัลเหรียญทองในงาน 41st International Exhibition of Inventions of Geneva

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผพว. มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล นายดำรงค์ ถนอมจิตร และ นางสาวณัชชา ประกายมรมาศ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสติก หน่วยวิจัยโพลิเมอร์ ศว. กับผลงานวิจัยเรื่อง “ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลวเพื่อช่วยป้องกันการสำลักในระหว่างริน” โดยได้รับความคุ้มครองอนุสิทธิบัตรตามประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการประกวดในงาน 41st International Exhibition of Inventions of Geneva – ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดิสเล็กเซียกับความด้อยในการเชื่อมโยงของสมอง

ที่มา: Beth Mole, Science News January 11, 2014 11’14Science News Jan 11’14 ความบกพร่องของสมอง ในส่วนของการอ่านหรือ โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านและการออกเสียง ของมนุษย์จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยา ได้ให้เหตุผลและข้อมูล รวมไปถึงข้อขัดแย้งกับทฤษฎีที่เกิดจากการ ศึกษาเพิ่มมากขึ้นของความบกพร่องทางสมองในส่วนของการ จำแนกเสียงจากการศึกษา ของ Bart Boets และคณะจาก Katholieke Universiteit Leuven ประเทศเบลเยี่ยม ได้ทำการศึกษาการ ทำงานของสมองโดยคลื่นไฟฟ้า (Functional magnetic resonance imaging)  คณะผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบรูปแบบการทำงานของสมองปกติกับรูปแบบการทำ งานของสมองที่ มีความบกพร่องในการอ่าน หลังจากการทดสอบการฟัง พบว่าทั้งสองกลุ่มสมองในส่วนกระบวนการพูดมีการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ผู้ที่มีความบกพร่องของสมองในส่วนของการอ่านยังคงมีสามารถในการจำแนกเสียง ได้เหมือนคนปกติ แต่ความผิดปกติเกิดจาก การส่งสัญญาณไปยังประสาทส่วนอื่น นอกจากนี้ Daniel Brandeis นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัย Zurich ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงของสมอง ซึ่งใช้ในการอธิบายความสามารถในการอ่าน และการพูด รวมทั้ง Franck

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยา Thalidomide ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ

ที่มา: Nathan Seppa, Science News, January 11, 2014 ในหลายประเทศ ยากล่อมประสาท ประเภท Thalidomide ถูกต่อต้านเนื่องจากมีผลกระทบ ต่อผู้หญิงท่ี่ตั้งครรภ์ แต่ อย่างไรก็ตาม ยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide มีฤทธิ์ในการรักษา โรคลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease) ในปี ค.ศ. 2008 Marzia Lazzerini และคณะวิจัยจาก Institute for Maternal and Child Health เมือง Trieste ประเทศ อิตาลี ได้ทำการวิจัยในเด็กวัยรุ่นที่มีอาการ ของโรคลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease) โดย ให้รับประทานยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide และยาที่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา (ยาหลอก) หลังจากการทำวิจัย 8 สัปดาห์ เด็กวัยรุ่นโดย ส่วนใหญ่ที่รับประทานยากล่อมประสาทประเภท Thalidomide มีอาการดีขึ้น และเด็กบางส่วน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสัมพันธ์ระหว่างโรคออทิซึมกับสารเคมีในลำไส้

ที่มา: Tina Hesman Saey, Science News, January 11, 2014 นักวิจัยพบว่า หนูทดลองที่มีลักษณะของโรคออทิซึม เกิดจากภาวะลำไส้รั่วและการรวมตัวที่ ผิดปกติของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งก่อให้เกิดเพิ่มขึ้นของสารเคมีที่มี ความคล้ายคลึงกับสารประกอบใน ปัสสาวะของเด็กที่อาการของโรคออทิซึม จากการศึกษาและสังเกตของ Alessio Fasano นักชีววิทยาด้านลำไส้ (gut biology) โรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ในกรุงบอสตัน การศึกษาขั้นต้นพบว่า การเปลี่ยน แปลงของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ และโรคออทิซึม มีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาใหม่สามารถใช้ในการอธิบายถึงความเป็นไปได้ของสาเหตุการเกิดของโรค ออทิซึมในเด็กได้เพียงบางส่วน Sarkis Mazmanian หัวหน้าสถาบันวิจัย Caltech กล่าวว่า คนจำนวนมากเชื่อว่า เด็กที่มีอาการของโรคออทิซึมจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร ซึ่งความเชื่อนี้ยังคงเป็นประเด็น ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทีมผู้วิจัยค้นพบว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์สามารถเกิดภาวะติดเชื้อขั้ั้นรุนแรง หรือมีอาการไข้ขึ้นสูงซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออทิซึมในเด็ก มากกว่าปกติ คณะผู้วิจัยได้ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กับหนูทดลองที่กำลังตั้งท้อง เพื่อจำลองภาวะติดเชื้อชั้นรุนแรง หนูที่เกิดใหม่มี อาการของโรคออทิซึม อาทิเช่น ปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงน้อยกว่าหนูปกติ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุดหนาวเย็นที่สุดในโลกแห่งใหม่ที่ขั้วโลกใต้

ที่มา: Meghan Rosen, Science News January 252014 ขั้วโลกใต้ (Antarctica) เป็นบริเวณที่มี ความหนาวเย็นที่สุด จากการรายงานของ Ted Scambos หน่วยงาน National Snow and Ice Data Center (NSIDC) รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ทางด้านทิศตะวันออกของ ขั้วโลกใต้เป็นเทือกเขาสูงมีอุณหภูมิ ต่่ำถึง -93.2 องศาเซลเซียส ซึ่งทำลาย สถิติเดิมที่ได้มีการจดบันทึกอุณหภูมิต่่ำ ที่สุด ในปี ค.ศ. 1983 ที่ -89.2 องศา เซลเซียส บริเวณ Vostok ขั้วโลกใต้ จากรายงาน ของกรมอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) กล่าวว่า การวัดอุณหภูมินี้สูงจากพื้นผิว เพียง 2 เมตร คณะผู้วิจัยใช้สัญญาณดาวเทียมในการศึกษาอุณหภูมิบนพื้นผิวน้ำแข็งจากปี ค.ศ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปิดเผยวิธีการหามวลดาวเคราะห์แบบใหม่

เมื่อ 63 ปีก่อน ได้มีการเริ่มวิจัยดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจากแสงที่ส่งผ่านไปยังชั้น บรรยากาศ นักวิทยาศาสตร์ ได้พบวิธีการวิเคราะห์มวลแบบใหม่ ที่สามารถช่วยนักวิจัยระบุได้ว่าดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงดาวต่างๆ สิ่งมีชีวิต สามารถดำรงชีวิตได้หรือไม่ และดาวเคราะห์ เหล่านั้นควรประกอบไปด้วยอนุภาคที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตในชั้น บรรยากาศ อาทิ เช่น ออกซิเจน และน้ำ การวัดขนาดของดาวเคราะห์โดยใช้กล้องโทรทรรศน์  (Telescopes) เมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนตัวมาบดบังดวงดาว นักดาราศาสตร์สามารถประมาณขนาดได้จากเงาที่เกิดขึ้น การศึกษาดาวเคราะห์มีความเป็นไปได้มากขึ้น เมื่อนาซาได้ เตรียมกล้องโทรทรรศน์ James Webb Space ที่จะเริ่มปฏิบัติการในปี ค.ศ. 2018 นักดาราศาสตร์จะสามารถวิเคราะห์ แสงดาวที่ผ่านไปยังดาวเคราะห์ในอวกาศ หรือการส่งผ่านของสเปกตรัม (Transmission spectrum) ซึ่งจะสามารถบ่งบอก ได้ถึงประเภทของโมเลกุลบนดาวเคราะห์และในชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังสามารถใช้วิธีการวัดอัตรา ความเร็วแนวเล็ง หรือความเร็วในแนวรัศมี  (Radial velocity method) ซึ่งวิธีการนี้สามารถวัดปริมาณการผูกมัด โยงกันของแรงโน้มถ่วง (Gravitational tug) ของดาวเคราะห์และดวงดาว โดยที่ใช้ได้กับดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่และ อยู่ใกล้กับดวงดาวค่อนข้างมาก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18043-science-and-technology-news– ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สาระวิทย์ เดือนพฤษภาคม 2557 (14)

Cover Story โรคกลัวคณิตศาสตร์ แฝงอยู่ในพันธุกรรม เรื่องเด่น บทความพิเศษ: ปฏิทินวิทยาศาสตร์ 2557 หน้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก: มัมมี่ก็เป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดเหมือนคนยุคปัจจุบัน ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์: ลูกแมวประหลาด มีตาเดียว จมูกงวงช้าง – ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์บนกระจกอาคารสำนักงาน

โดย William G. Schulz &Emily Bones, Chemical and Engineering News January 6, 2014 หน้าต่างสำนักงานอาคารและตึกระฟ้าสามารถทำเป็นสีสันต่างๆ  เพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์นั้น  มีความเป็นไปได้ยุคสมัยนี้ ถ้าหากว่าแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) มีน้ำหนักเบา ประสิทธิภาพสูง และมีความสวยงาม ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ รายงานว่า แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์กึ่งโปร่งแสง สามารถนำมาประยุกต์ใช้บนหน้าต่าง โดยที่แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์นี้ควรมีประสิทธิภาพสูงในการดูดกลืนแสงและ สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ได้อย่างเพียงพอและแสงยังคงสามารถทะลุผ่านได้ จากการศึกษาวัสดุอินทรีย์ที่ใช้สามารถดูดกลืนแสงอินฟราเรดและแสงที่ตามอง เห็น แต่วัสดุแหล่งนี้มีประสิทธิภาพ ในการ เปลี่ยนแปลงพลังงานต่ำ  ส่วนวัสดุอนินทรีย์กึ่งตัวนำ อาทิ เช่น ซิลิกอนอสัณฐาน (Amorphous silicon) มี ประสิทธิภาพสูงในการดูดกลืนแสงที่ตามองเห็น เพราะฉะนั้นวัสดุประเภทนี้ควรบางเพื่อให้โปร่งแสง เพื่อช่วยลด ปริมาณของโฟตอน (Photons) คณะผู้วิจัย นำทีมโดย นักฟิสิกส์ Henry J. Snaith มหาวิทยาลัย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments