magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ รักษาจอประสาทตา (Retinas) ที่เสียหายด้วยสเต็มเซลล์ของปลาม้าลาย
formats

รักษาจอประสาทตา (Retinas) ที่เสียหายด้วยสเต็มเซลล์ของปลาม้าลาย


กลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอต้า (University of Alberta) ประเทศแคนาดาค้นพบว่า เซลล์ต้นกำเนิดของปลาม้าลาย (Stem cells) สามารถสร้างเซลล์รับแสงในชั้นจอประสาทตาของนัยน์ตาที่เสียหาย (Damaged photoreceptor cells) ขึ้นมาใหม่

ผู้นำกลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอต้า Ted Allison กล่าวว่า นักพันธุศาสตร์รู้ว่าเซลล์ต้นกำเนิดของปลาม้าลายแตกต่างจากของมนุษย์ เพราะสามารถแทนที่เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับกับระบบการมองเห็นที่เสียหาย โดยเฉพาะเซลล์ rods และ cones ที่เป็นเซลล์รับแสงตัวสำคัญของจอประสาทตาในมนุษย์ rods จะช่วยในการมองเห็นในเวลากลางคืน ในขณะที่ cones จะช่วยการมองเห็นในเวลากลางวัน แต่สิ่งที่ยังไม่รู้และยังไม่แน่ใจก็คือ เรากำหนดให้เซลล์ต้นกำเนิดให้ไปแทนที่เพียงแค่ cones ในจอประสาทตาได้หรือไม่ ซึ่งความรู้ตรงจุดนี้จะเป็นประโยชน์ที่สำคัญต่อการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อรักษาระบบดวงตาของมนุษย์ในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้เพราะสำหรับคนที่ระบบการมองเห็นเสียหาย การรักษา cones มีความสำคัญมากที่สุดเพราะช่วยในการมองเห็นตอนกลางวัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– ( 92 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven − = 0

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>