magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Health ภาวะอ๋อ! (Aha experience)
formats

ภาวะอ๋อ! (Aha experience)

ศาสตราจารย์เอพริล เบนาซิช ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองชาวอเมริกัน ได้ศึกษาสมองของทารกและเด็กเล็กเป็นจำนวนมาก พบว่าเด็กเล็กๆ สามารถเรียนรู้ด้านภาษาได้ด้วยตัวเองจาก “ภาวะอ๋อ (Aha experience)” ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความสำคัญต่อความเข้าใจภาษาพูดและภาษาเขียน และมีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาที่จะต่อยอดไปในด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย

  

ถึงแม้ว่านักวิจัยทางระบบสมองจะยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่า คลื่นแกมมาเกิดขึ้นได้อย่างไร และสมองปล่อยคลื่นแกมมาออกมาเพื่อจุดประสงค์อะไรก็ตามที แต่ปฏิกิริยาของคลื่นแกมมาดังกล่าวจากผลวิจัยต่างๆ บ่งชี้ว่าคลื่นแกมมาเกิดขึ้นเมื่อสมองมีการตอบสนองต่อการค้นพบด้วยตนเอง หรือภาวะอ๋อ (Aha experience) ซึ่งเป็นภาวะที่นึกบางสิ่งบางอย่างออกนั่นเอง

ภาวะอ๋อ (Aha experience) ที่เกิดขึ้นในสมองมีความสำคัญต่อความเข้าใจภาษาพูดและภาษาเขียน ภาวะอ๋อจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กฟังเสียงที่เปลี่ยนคลื่นความถี่อย่างกะทันหัน เช่น จากเสียงเบสต่ำไปเสียงสูง ความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองต่อการเปลี่ยนโทนเสียงมีความสำคัญในการแยกแยะพยางค์เสียงในประโยคและการทำความเข้าใจข้อความที่ได้ยิน ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวนั้น สามารถตรวจวัดได้ด้วยการวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสมองขณะที่กำลังดูหนังเงียบหรือเมื่อใช้ลำโพง 2 ตัว เพื่อเปิดเสียงที่เปลี่ยนเสียงสูงๆ ต่ำๆ ได้ เมื่อเสียงเปลี่ยนขึ้นพริบตา โดยท้องคลื่นของคลื่นสมอง (จุดต่ำสุดของคลื่นสมอง) จะลดต่ำอย่างเห็นได้ชัดเจน ทันทีที่สมองของเด็กจับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ท้องคลื่นเป็นสัญลักษณ์ของการค้นพบด้วยตนเอง หรือภาวะอ๋อ

ในเด็กที่มีทักษะภาษาเป็นปกติ นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกคลื่นสมองแบบภาวะอ๋อ ได้จากบริเวณเหนือหน้าผาก ระหว่างขมับ 2 ข้างในขณะที่โทนเสียงเปลี่ยน แต่ในเด็กที่คะแนนทักษะภาษาต่ำ คลื่นสมองแบบภาวะอ๋อ จะอ่อนแรงกว่ามาก ซึ่งสามารถบ่งชี้ว่าสมองไม่สามารถแยกแยะโทนเสียง หรือแยกแยะพยางค์ที่คล้ายกัน เช่น เสียง “โค” และ “โก” ออกจากกันได้

ดังนั้น ภาษาพูดประกอบไปด้วยพยางค์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากเด็กไม่สามารถจับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก็จะไม่สามารถแยกระหว่างเสียงได้ หากเด็กมีปัญหานี้มาตั้งแต่เกิด จึงสามารถบ่งชี้ได้ว่า เด็กเหล่านั้นจะมีความบกพร่องในการทำความเข้าใจและใช้ภาษาพูดเมื่อโตขึ้น

 

อ้างอิง : กอร์ม พาล์มเกรน. (2555, พฤศจิกายน).  การค้นพบจากคลื่นสมองทารก หมวกอิเล็กโทรดชี้ที่มาของความบกพร่องทางภาษา.  ไซแอนซ์ อิลลัสเตรเต็ด, (17), 58-63.– ( 133 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


eight − 1 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>