ผลพวงจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ และอุปกรณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นตามวัตถุประสงค์การใช้งานทำให้พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไป จากการสำรวจพบว่า ผู้คนมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกันตลอดเวลาโดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในอุปกรณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันไป โดยสมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานสูงเกือบทั้งวัน ดังคากล่าวที่ว่า สังคมยุคนี้ เป็น “สังคมก้มหน้า” – ( 33 Views)
กิจกรรมการนำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของสหรัฐฯ มาเยือนประเทศไทย
สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน จัดกิจกรรมการนำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ มาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15 – 26 เมษายน 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของไทย และสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ (Congressional Staffer ระดับสูง ในสังกัด สส. และ ส.ว. ของพรรค Republican และ Democrat ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ) อันจะเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศไทยในการประสานงานในอนาคต อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 27 Views)
ความสามารถในการรักษาตัวเองของกล้ามเนื้อ
วิศวกรด้านชีวภาพการแพทย์จากมหาวิทยาลัย Duke ปลูกกล้ามเนื้อที่มีชีวิตทั้งในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสารถในการรักษาตัวเองของกล้ามเนื้อนั้น ความพร้อมของกล้ามเนื้อที่ดีต้องมี 2 สิ่ง คือเซลล์กล้ามเนื้อที่มีการพัฒนาแล้ว ซึ่งทำหน้าที่ในการหดตัว และเป้นแหล่งรวมของเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่า เซลล์ Satellite กล้ามเนื้อของทุกคนมีเซลล์ Satellite เก็บสำรองเพื่อใช้งานเมื่อได้รับบาดเจ็บ และมีการเริ่มต้นของกระบวนการฟื้นฟู อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 33 Views)
การส่งเสียงของแมลงวันกับการตัดสินใจของเราเกี่ยวกันอย่างไร?
สัตว์จำนวนมากทำเสียงด้วยวิธีต่างๆ เพื่อใช้ในการดึงดูดเพศเมีย แมลงวันผลไม้ก็ใช้เสียงในการ ดึงดูดเพศเมียเช่นกัน แต่เสียงของพวกมันไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนเช่นเดียวกับสัตว์ประเภทอื่นๆ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าการค้นพบนี้อาจจะช่วยสร้างความเข้าใจในกระบวนการตัดสินใจอย่างเร็วของสัตว์สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ซับซ้อนกว่า เช่น มนุษย์ นักวิจัยกำลังศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเฉียบพลัน เช่น เมื่อเสือดาววิ่งไล่ละมั่งที่วิ่งตัดไป – มา หรือการที่เราตัดสินใจ เหยียบคันเร่งหรือเบรคระหว่างขับรถ Mala Murthy รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Princeton ได้สร้าง เครื่องมือในการศึกษาการทำงานของระบบประสาทของแมลงวันในการตัดสินใจเลือกใช้เสียงที่แตกต่าง ไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม อ่านเพิ่มเติมได้ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 24 Views)
น้ำบนดวงจันทร์
เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาตรวจสอบตัวอย่างหินดวงจันทร์ แสดงให้เห็นว่าไฮโดรเจนมีปริมาณ ค่อนข้างสูงในผลึกอะพาไทต์ ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ ทีมงานของนักวิจัย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Jeremy Boyce วิทยาลัยยูซีแอล สาขาโลก ดาวเคราะห์ และวิทยาศาสตร์อวกาศ (Department of Earth, Planetary and Space Sciences) ทำการศึกษา ตัวอย่างหินดวงจันทร์ หรือผลึกอะพาไทต์ พบว่ามีส่วนประกอบของน้ำ การค้นพบนี้ขัดแย้งกับสมมติฐานเดิม ซึ่งเกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าดวงจันทร์แห้ง หรือเกือบจะไม่มีส่วนประกอบของน้ำจากทฤษฎีจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ องค์ประกอบเบา อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 25 Views)
คณิตศาสตร์ Vs. พันธุกรรม
ความวิตกกังวลทางคณิตศาสตร์ไม่เพียงแต่เกิดจากประสบการณ์ทางลบที่เกิดขึ้นในห้องเรียน แต่ยังเป็นเพราะปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับทั้งความวิตกกังวลทั่วไปและทักษะคณิตศาสตร์ Zhe Wang นักวิจัยด้านจิตวิทยามหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ พบว่า ความวิตกกังวลด้านคณิตศาสตร์ ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ การศึกษานี้นักวิจัยใช้ EEGs (Electroen-cephalogram) เพื่อวัดการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์โดยจะมีการประมวลผลทันที ทำการวัดความแตกต่างของระดับความวิตกกังวลด้านคณิตศาสตร์ในฝาแฝดแท้ 216 คน และฝาแฝดเทียม 298 คน โดยเป็นผู้ที่เข้าร่วมใน Western Reserve Reading and Math Projects ซึ่งเป็นโครงการคณิตศาสตร์ทำการศึกษาระยะยาวของฝาแฝดในรัฐโอไฮโอ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 30 Views)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับละครเพลง
National Science Foundation (NSF) ใช้งบประมาณราว 700,000 เหรียญสหรัฐฯ กับละครเพลงเรื่อง “The Great Immensity” ซึ่งทำให้รัฐสภาเกิดคำถามขึ้น ถ้าหาก NSF นำเงินส่วนนี้ไปใช้ ในส่วนอื่นอาจจะเป็นสิ่งที่ดีกว่านี้หรือไม่? NSF เป็นหน่วยงานที่ได้รับเงินทุนวิจัยในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ การนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ และการเพิ่มความสามารถในการนำความรู้มาใช้กับโลกปัจจุบัน รวมทั้งการนำเสนอความรู้ขั้นพื้นฐานโดยผ่านการวิจัยที่เป็นกลาง NSF ได้ให้ทุนสนับสนุนการแสดงละครเพลงแก่บริษัท The Civilians, Inc. มลรัฐนิวยอร์ค เพื่อผลิตละครเพลงเรื่อง “The Great Immensity” วัตถุประสงค์หลักของละครเพลงนี้ คือ การแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นที่จุดวิกฤติทางสภาพภูมิอากาศและ การอนุรักษ์ธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนตัวเองและสังคมให้ทันเวลาเพื่อแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่ยิ่งใหญ่ที่กำลังเผชิญหน้าพวกเราได้อย่างไร เป็นการสะท้อนให้พลเมืองสหรัฐฯ ได้เห็น แนวทางพัฒนาและออกจากความคิดที่ตีกรอบไว้ในด้านวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ อิทธิพลจากละครเพลงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ จินตนาการ กระตุ้นความอยากรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานของประชาชน และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เนื้อหาของละครเพลงนี้เกิดจากแนวความคิด ของ 2 สถาบัน คือ Princeton Environmental
กลยุทธ์ใหม่ที่น่าสนใจสำหรับการจัดการกับน้ำหนัก
อิทธิพลของการรับแสงยามเช้าที่มีต่อน้ำหนักตัวคน เป็นตัวแปรอิสระจากการออกกำลังกาย, ปริมาณแคลอรี่ที่บริโภค, ระยะเวลาการนอนหลับ อายุ หรือฤดู ปัจจัยนี้มีผลต่อร้อยละ 20 ของมวลน้ำหนักตัว (BMI) จากการศึกษาทางการแพทย์ของ Kathryn Reid ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยามหาวิทยาลัย Northwestern พบว่าช่วงเวลา ระยะเวลา และความเข้มของแสงนั้นเชื่อมโยงกับน้ำหนักตัวคน คนที่ใช้ชีวิตประจำวันในที่ได้รับแสงระดับปานกลางในช่วงเช้าอย่างเป็นประจำ จะมีดัชนีมวลกาย (BMI คือ อัตราส่วนจากน้ำหนักและความสูงของบุคคล) ต่ำกว่าคนที่ใช้ชีวิตประจำวันในช่วงกลางวัน อิทธิพลของการรับแสงยามเช้านั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระดับของออกกำลังกาย แคลอรี่ที่ได้รับ ระยะเวลาในการนอนหลับ อายุ หรือฤดู อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18085-science-and-technology-news– ( 23 Views)