สาระสำคัญจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่” วันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. 56 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กทม. มีสาระสำคัญ 9 ประการดังนี้
- ผู้บริหาร: ผู้บริหารคาดหวังจะเห็นห้องสมุดเป็นหน่วยงานที่บุกเบิกแสวงหานวัตกรรมที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์ความรู้ ห้องสมุดต้องรองรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และสังคม/พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป ห้องสมุดควรมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม มีบทบาทชี้นำสังคม/สร้างความเป็นเลิศ และบริการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นสร้างดุลยภาพระหว่างคุณภาพและความสุข คือ การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและความสุขของคนทำงาน
- บรรณารักษ์: เป็น Librarian 2.0 หรือ Cybrarian 3.0 โดยมีคุณลักษณะคือเข้าใจผู้ใช้ กล้าเสี่ยง ตามโลกให้ทัน คล่องแคล่ว ว่องไว ช่างสงสัย มองเทคโนโลยีอย่างพินิจพิเคราะห์ อย่ายอมแพ้ง่ายๆ ขายความคิด สร้างเครือข่ายและสร้างพันธมิตร ใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงาน เป็นผู้ช่วยนักวิจัย จัดการห้องสมุดดิจิทัล และจัดระบบความรู้
- กลยุทธ์ของห้องสมุด: ห้องสมุดควรมุ่งเน้นความร่วมมือในทุกภาคส่วน เน้นความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ในการจัดการปัญหาใหม่ การจัดการความสัมพันธ์ การพิมพ์ทางวิชาการ และการจัดการเทคโนโลยี/นวัตกรรม โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญ 4 ประการ คือ
3.1 Collection เป็นดิจิทัลที่เข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา สิทธิ์ในการใช้ การซื้อ ภาคี การเข้าถึงได้เสรี โดยทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นกระดาษจะลดลง
3.2 Spaces เนื่องจากสิ่งพิมพ์ลดลง เน้นการเข้าถึงระยะไกล ปรับพื้นที่การใช้บริการ
3.3 Services ใช้เทคโนโลยีช่วยงานบริการ เน้นดิจิทัล ความร่วมมือ e-learning การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และช่วยเหลือผู้ใช้ให้ประสบความสำเร็จ
3.4 Skills ได้แก่ ทักษะสารสนเทศ ความเชี่ยวชาญของห้องสมุดในกระบวนการวิจัยและเรียนรู้ การสร้าง การจัดการและการสงวนรักษาคอลเลคชั่นดิจิทัล - นวัตกรรม: ไม่จำเป็นต้องมาจากภายในองค์กร ไม่จำเป็นต้องมาจาก R&D คน/ชุมชนมีส่วนร่วมคิดนวัตกรรม ผู้ที่จะเป็นนวัตกรได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเชื่อมโยง การตั้งคำถาม การสังเกต การทดลองและการสร้างเครือข่าย โดยห้องสมุดจะต้องนิยามการดำเนินงานในปัจจุบัน ค้นหาว่าลูกค้าต้องการอะไร สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นเรื่อยๆ ค้นหาว่าอะไรเกิดขึ้นกับลูกค้าในช่วงก่อน ระหว่างหรือหลังที่ลูกค้ามาใช้บริการ และบูรณาการ/เชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน
- การวิจัย: บรรณารักษ์จะมีส่วนในวงจรการวิจัยได้อย่างไร (Research life cycle) เช่น การเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล การวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูล การเขียน ทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ การประกันคุณภาพ และการนำผลการวิจัยไปใช้จริง
- ห้องสมุดมีชีวิตและการส่งเสริมการอ่าน: เป็นห้องสมุดที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการ โดยห้องสมุดจะต้องกระตุ้นบิดามารดาและเด็กในเรื่องการอ่าน และเน้นกิจกรรมในทุกช่วงวัย
- อาคารห้องสมุด: คำนึงถึงหลักการ FLOAT ได้แก่
7.1 Facilities คือ สิ่งอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภค
7.2 Light คือ แสง
7.3 Odor คือ กลิ่นที่อาจมาจากระบบปรับอากาศ
7.4 Air
7.5 Toilet - การตลาดอิเล็กทรอนิกส์: การตลาดในห้องสมุดดิจิทัล ได้แก่ 5P คือ
- Product
- Price of service
- Place (กายภาพ/ออนไลน์)
- Promotion (ทำให้คนรู้จัก)
- Process (ทำให้เขาหาข้อมูลได้) - บทบาทของห้องสมุด: คือ
9.1 ผู้จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีการกำหนดนโยบาย การจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การเข้าถึงได้เสรี และการสร้างทรัพยากรใหม่
9.2 เครื่องมือแสวงหาความรู้ โดยจัดระบบสำหรับการค้นคว้า ทางเลือกในการแสวงหาความรู้ เช่น Google และ OneSearch เป็นต้น ห้องสมุดติดตามแนวโน้มของเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย จัดระบบการเข้าถึงเพื่อการเรียนรู้ Social Media และบรรณารักษ์ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
9.3 การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ คือ การควบคุมการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรที่อาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น บรรณารักษ์จะต้องอยู่ระหว่าง Content กับ User behavior มีส่วนในการเรียนรู้ในห้องเรียน เช่น การสอนการรู้สารสนเทศ Course Blogs ในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตร และการสนับสนุนการเรียนรู้ในวิธีการต่างๆ
เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง
คณะมนุษยศาสตร์ มศว– ( 1391 Views)