ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังประสบปัญหาวิกฤติพลังงาน ซึ่งในแต่ละปีมีความจำเป็นในการนำเข้าเป็นมูลค่ามหาศาล รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงาน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็นแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ในการหาพลังงานทดแทนสำหรับวัตถุดิบที่จะมาทำเป็นพลังงานทดแทนซึ่งมีหลายชนิดโดยเฉพาะการนำผลผลิตจากพืชที่ใช้ในการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบ
ปาล์มน้ำมัน เป็นหนึ่งในพืชที่มีศักยภาพและอยู่ในความสนใจของผู้ปลูกและผู้ประกอบการกิจการอุตสาหกรรมน้ำมันเนื่องจากเป็นพืชน้ำมันที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตน้ำมันปาล์มเป็นลำดับที่ 3 ของโลกรองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในปี 2555 มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 5-7 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ภาครัฐได้มีการดำเนินยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันในช่วงปี 2551-2555 เพื่อเร่งผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิต เพื่อรองรับกับยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) ซึ่งมีเป้าหมายในการทดแทนน้ำมันดีเซลฟอสซิลให้ได้ 5.97 ล้านลิตร/วัน ภายในปี 2564
จากการวิเคราะห์ผลผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศไทยที่ได้ต่อไร่ ต่อปี พบว่าปาล์มน้ำมันในประเทศไทยมีผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น มาเลเซีย อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า เนื่องจากโครงสร้างการผลิตปาล์มน้ำมันของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตโดยเกษตรกรรายย่อยประมาณ 60% ที่เหลือเป็นการปลูกปาล์มของบริษัท และสหกรณ์/นิคมอีกร้อยละ 20 และ 10 ตามลำดับ ทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตและควบคุมต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึง อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยจะเป็นอย่างไรเกิดวิกฤต หรือเป็นโอกาส ว และ ท จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้สามารถแข่งขันและยืนหยัดได้ อย่างไร
ซึ่งวิทยากรได้ให้คำตอบต่างๆ ไว้ดังนี้
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน โดย ผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมัน โดยคุณอัสนี มาลัมพุช นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม– ( 659 Views)