รำลึกความหลังสู่อนาคตของ สกว. เมื่อ วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดงานครบรอบ ๒๐ ปี สกว. ในงานดังกล่าว ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้เล่าให้ฟังถึงการก่อตั้ง สกว. และอนาคต ของ สกว.ในมุมมองของท่าน การก่อตั้งและการดำเนินงานที่ผ่านมา เหตุใดจึงมี สกว. เหตุผลก็คือ ในช่วงนั้นหรือแม้กระทั่งในช่วงนี้ เราต้องยอมรับว่าระบบการสนับสนุนการวิจัยของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก สกว. จึงได้ช่วยขึ้นมา ก่อนมี สกว. ในช่วงนั้น งานวิจัยแทบไม่มีนโยบาย ไม่มีงบประมาณ และเท่าที่มีก็ยังติดในระเบียบราชการขยับตัวแทบไม่ได้ ดังนั้นโอกาสสำคัญที่จะปรับ ระบบการสนับสนุนการวิจัยของเรา เมื่อมีตัวอย่าง คือ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และถัดจากนั้นมา มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขึ้น แสดงว่ามีโอกาสและมีกลไกที่จะให้ตั้งองค์กรของรัฐที่ไม่ได้อยู่ในระบบราชการ โดยออกกฎหมายพิเศษ การก่อตั้ง สกว. ที่สำคัญ มีผู้ผลักดัน ๓ ท่าน ได้แก่ ดร.สง่า สรรพศรี
การประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556
ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556 ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง สารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุค Open Access ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน – วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556 ห้อง บอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ รายละเอียดเพิ่มเติม หัวข้อการบรรยาย | สไลด์ประกอบการบรรยาย | สรุปจากการบรรยาย – ( 314 Views)
จากปาล์มน้ำมัน สู่ น้ำมันปาล์ม : วิกฤตหรือโอกาส ในการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (Session I) Oil Palm to Palm Oil: Crisis or Opportunity in AEC (Session I)
ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังประสบปัญหาวิกฤติพลังงาน ซึ่งในแต่ละปีมีความจำเป็นในการนำเข้าเป็นมูลค่ามหาศาล รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงาน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็นแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ในการหาพลังงานทดแทนสำหรับวัตถุดิบที่จะมาทำเป็นพลังงานทดแทนซึ่งมีหลายชนิดโดยเฉพาะการนำผลผลิตจากพืชที่ใช้ในการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบ ปาล์มน้ำมัน เป็นหนึ่งในพืชที่มีศักยภาพและอยู่ในความสนใจของผู้ปลูกและผู้ประกอบการกิจการอุตสาหกรรมน้ำมันเนื่องจากเป็นพืชน้ำมันที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตน้ำมันปาล์มเป็นลำดับที่ 3 ของโลกรองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในปี 2555 มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 5-7 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ภาครัฐได้มีการดำเนินยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันในช่วงปี 2551-2555 เพื่อเร่งผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิต เพื่อรองรับกับยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) ซึ่งมีเป้าหมายในการทดแทนน้ำมันดีเซลฟอสซิลให้ได้ 5.97 ล้านลิตร/วัน ภายในปี 2564– ( 658 Views)
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Thai Bioplastics Industry towards ASEAN Economic Community) ปัจจุบันการใช้พลาสติกในโลกโดยรวมมีมากกว่า 200 ล้านตัน และมีอัตราเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ต่อปี แต่จากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้ม จึงทำให้พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ได้รับความสนใจเพื่อเป็นทางเลือกใหม่และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยจุลชีพอย่างสมบูรณ์ ในระยะเวลา 3-5 ปีมานี้ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถผลิตพลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายและราคาถูกลง จึงทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมชนิดนี้รุดหน้าอย่างก้าวกระโดด และด้วยความก้าวหน้าทางโทคโนโลยี พลาสติกชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง และ อ้อย เป็นต้น ซึ่งสามารถปลูกขึ้นใหม่ทดแทนได้ (Renewable resource) ทั้งยังเป็นวัสดุที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ในการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการประเมินวัฎจักรชีวิต (Life Cycle Analysis) ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก และช่วยทดแทนพลาสติกบางประเภทที่ผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คุณค่าเหล่านี้กอปรกับศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นแหล่งผลิตพลาสติกชีวภาพที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Polybutylenesuccinated, PBS) และ พอลิแล็กติกแอซิด (Polylactic acid, PLA) ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยอาจจะเป็นประเทศแรกในโลกที่มีทั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PBS
การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 (NAC2013)
ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Towards AEC with Science and Technology (NAC2013) 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี แผนที่ เปิดรับลงทะเบียนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 พบกับการประชุมวิชาการ นิทรรศการ และเปิดบ้าน สวทช. เจาะประเด็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างโอกาสและความพร้อมของไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 02 564 8000 หรือ อีเมล : nac2013@nstda.or.th เว็บไซต์ : http://www.nstda.or.th/nac2013– ( 5439 Views)
ผลการคัดเลือกข้อเสนอการข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย
ประกาศ ผลการคัดเลือกข้อเสนอการข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุน การวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2555 ( 5 กลุ่มเรื่องเร่งด่วน) : กลุ่มเรื่องข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา โลจิสติกส์ และการบริหารจัดการท่องเที่ยว (รอบที่ 2) ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานให้ทุน 5 หน่วยงานของประเทศ (5ส.) คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกกรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ดำเนินการคัดเลือกข้อเสนอการวิจัยที่สมควรได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2555 (5 กลุ่มเรื่องเร่งด่วน) ดาวน์โหลดผลการพิจารณา– ( 113 Views)
NSTDA Blog V.2
ขอบต้อนรับเข้าสู้เว็บไซต์บล็อกสวทช. เวอร์ชั่น 2 หลังจากเปิดให้บริการในเวอร์ชั่น 1 มาครบ 5 ปี นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2007 โดยในเวอร์ชั่นนี้ทุกท่านก็จะได้รับความรู้อันหลากหลาย ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกท่านเช่นเดิม หวังว่าทุกท่านคงติดตามและให้ความสนใจกับเว็บนี้อีกครั้ง ทั้งนี้ทุกท่านยังสามารถเข้าใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ที่ http://stks.or.th/blog – ( 126 Views)