magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home NSTDA อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
formats

อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Thai Bioplastics Industry towards ASEAN Economic Community)

ปัจจุบันการใช้พลาสติกในโลกโดยรวมมีมากกว่า 200 ล้านตัน และมีอัตราเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ต่อปี แต่จากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้ม จึงทำให้พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ได้รับความสนใจเพื่อเป็นทางเลือกใหม่และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยจุลชีพอย่างสมบูรณ์ ในระยะเวลา 3-5 ปีมานี้ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถผลิตพลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายและราคาถูกลง จึงทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมชนิดนี้รุดหน้าอย่างก้าวกระโดด และด้วยความก้าวหน้าทางโทคโนโลยี พลาสติกชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง และ อ้อย เป็นต้น ซึ่งสามารถปลูกขึ้นใหม่ทดแทนได้ (Renewable resource) ทั้งยังเป็นวัสดุที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ในการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการประเมินวัฎจักรชีวิต (Life Cycle Analysis) ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก และช่วยทดแทนพลาสติกบางประเภทที่ผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คุณค่าเหล่านี้กอปรกับศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นแหล่งผลิตพลาสติกชีวภาพที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Polybutylenesuccinated, PBS) และ พอลิแล็กติกแอซิด (Polylactic acid, PLA) ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยอาจจะเป็นประเทศแรกในโลกที่มีทั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PBS และโรงงานพลาสติกชีวภาพชนิด PLA ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นทางในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพนานาชนิด ประเทศไทยยังมีศักยภาพด้านการวิจัยพื้นฐานและต่อยอด ทั้งในด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เคมีพอลิเมอร์และวิศวกรรมพอลิเมอร์ ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่เข็มแข็ง นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้กระทรวงการคลังออกมาตรการช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำประมาณ 2% ให้แก่ ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในไทยเป็ฯนเวลาต่อเนื่อง 8 ปี และเจรจากับบีโอไอเพื่อให้คงสิทธิประโยชน์ด้านภาษี 8 ปี เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพนี้เกิดขึ้น  และช่วยสร้างศักยภาพให้เกิดความสามารถในการแข่งขันจากข้อได้เปรียบของประเทศจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ โดยเฉพาะในอาเซียน ซึ่งจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในวันที่ 1 มกราคม 2558ความพร้อมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ดร.วันทนีย์ จองคำ ผู้อำนวยการฝ่าย (ส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)– ( 205 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ four = 8

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>