magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island: UHI)
formats

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island: UHI)

ในช่วงสภาวะอากาศที่ร้อนอบอ้าวและมีอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.6 – 0.7 องศาเซลเซียส ตามรายงานของ  IPCC นั้นอาจจะไม่ใช่แค่คำตอบด้วยของความร้อนที่เรากำลังสัมผัสอยู่ในขณะนี้ก็เป็นได้ เพราะความร้อนดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นความร้อนที่เกิดจากปรากฏการณ์เกาะร้อน (Urban Heat island: UHI) ก็เป็นได้ และเป็นไปได้สูงอีกด้วย ซึ่งสาเหตุดังกล่าวนั้น ได้สอดคล้องกับผลวิเคราะห์จากงานวิจัยต่างๆ ไม่เพียงแค่ประเทศไทยที่อยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างประเทศไทยเท่านั้น แต่ในประเทศญี่ปุ่นก็มีการเปิดเผยผลการวิเคราะห์ผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island: UHI) บริเวณใจกลางเมืองใหญ่ด้วยเช่นกัน

 

ที่มา www.weatherquestions.com

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน หรือ เกาะความร้อนเมือง (อังกฤษ: urban heat island: UHI) คือปรากฏการณ์ที่พื้นที่ในมหานครมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณโดยรอบอย่างมีนัย ความแตกต่างของอุณหภูมิที่สูงกว่าดังกล่าวจะชัดเจนในตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน ในฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อนและเมื่อไม่มีลมหรือมีลมพัดอ่อน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเกาะความร้อนเมืองคือการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินที่เกิดจากการพัฒนาเมืองซึ่งใช้วัสดุที่ทำให้เกิดการสะสมกันของความร้อนประกอบกับความร้อนที่ปล่อยออกจากการใช้พลังงานตามอาคารสถานที่ต่างๆ เมื่อศูนย์กลางประชากรของเมืองเพิ่ม การเปลี่ยนแปลงผิวพื้นแผ่นดินก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเพิ่มอุณหภูมิทั่วไปโดยเฉลี่ย ผลของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองทำให้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในบริเวณใต้ลมที่ห่างจากใจกลางเมืองออกไปประมาณ 60 กิโลเมตรเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับบริเวณพื้นที่เหนือลม

ล่าสุดสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เปิดเผยผลการวิเคราะห์ผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island: UHI) บริเวณใจกลางเมืองใหญ่ด้วยแบบจำลองด้านภูมิอากาศแบบใหม่  ซึ่งรวบรวมผลกระทบจากความร้อนที่ปล่อยจากไอเสียรถยนต์ ความร้อนจากรังผึ้งเครื่องปรับอากาศ และความร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณผิวดินจากการพัฒนาเมือง ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในกรุงโตเกียว เมืองโอซะกะ และเมืองนะโงะยะ เพิ่มขึ้นประมาณ 3 องศาเซลเซียสตลอดศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสาเหตุหลักไม่เพียงแต่เกิดจากปรากฏการณ์โลกร้อน แต่ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนอีกด้วย

ทั้งนี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้พัฒนาแบบจำลองด้านภูมิอากาศขึ้นมาใหม่โดยพิจารณาข้อมูลผลกระทบต่อการรวมตัวของก้อนเมฆ หยาดน้ำฟ้า การก่อสร้าง ความร้อนใต้พื้นผิว และความร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงาน เป็นต้น

ที่มา http://www.vcharkarn.com

จากผลการวิเคราะห์อุณหภูมิที่ชั้นอากาศใกล้พื้นดิน ในเขตชุมชนเมืองสูงกว่าพื้นที่โดยรอบที่เป็นเขตกสิกรรมและพื้นที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ ประมาณ 2-5 องศาเซลเซียส และจากแผนที่แสดงภูมิอากาศดังกล่าว จะที่ชี้ให้เห็นว่าบริเวณชุมชนเมืองจะมีความร้อนสูงกว่าบริเวณรอบๆ ซึ่งก็จะทำให้สังเกตเห็นเป็นหย่อมๆ  ทำให้ดูเหมือนเป็นเกาะในแผนที่นั้นเอง และนี่จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า เกาะร้อน”

และสาเหตุสำคัญที่ส่งผลทำให้เกิดปรากฏการณ์เกาะร้อนนั้นจะเกิดขึ้น เมื่อนิเวศวิทยาทางธรรมชาติ ถูกปรับมาเป็นแหล่งกสิกรรม และถูกแทนที่ด้วยชุมชนเมืองที่มีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และใช้ทรัพยากรพลังงานต่างๆ ที่ปล่อยทั้งพลังงานความร้อนและมลพิษออกมา

นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ในสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีคุณสมบัติเป็นตัวดูดซับความร้อนโดยตรงจากดวงอาทิตย์ ทั้งยังความร้อนที่ออกจากไอเสียจากรถยนต์ กิจกรรมการใช้พลังงานต่างๆ ของมนุษย์ในครัวเรือน และโรงงาน ที่ปล่อยพลังงานความร้อนและสร้างมลภาวะออกมา เหล่านี้ก็ช่วยเพิ่มระดับความร้อนและความเลวร้ายของสภาพอากาศได้อีกเช่นกัน ตัวอาคารสูงๆ นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับความร้อนแล้ว ยังเป็นตัวขวางกั้นลมที่จะคอยช่วยพัดระบายความร้อนออกจากชุมชนเมืองอีกด้วย และต้นไม้ที่ถูกตัดโค่นเพื่อการก่อสร้าง ซึ่งคอยทำหน้าที่ตามสมดุลธรรมชาติในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คอยเป็นตัวดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์เคมี ก็ลดน้อยลงมาก และเมื่อขาดต้นไม้คอยกำบัง แสงก็จะส่องกระทบกลายเป็นความร้อนอยู่ในวัตถุนั้น แล้วถ่ายเทเข้าสู่อากาศอีกที ทั้งนี้ยังไม่รวมกับผลกระทบจากโลกร้อนหรือความร้อนที่มากับปรากฏการณ์เรือนกระจก เพราะเมื่อเมืองมีมลพิษ มีคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงพอที่จะเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกเฉพาะพื้นที่ ฝุ่นละอองที่แขวนลอยในอากาศก็จะคอยดูดซับความร้อน ซึ่งเป็นการเพิ่มอุณหภูมิความร้อนให้สูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัว และเมื่ออากาศร้อน คนก็หาทางออกด้วยการใช้พลังงานเพื่อสร้างความเย็น จึงทำให้ปัญหาถูกแก้ ด้วยวิธีที่มีย่ำแย่ลง

กล่าวอย่างง่ายก็คือ การขยายเขตชุมชนเมือง รวมทั้งการที่เขตกสิกรรมที่เข้าไปแทนที่พื้นที่ป่า ถึงแม้การทำการเกษตรจะไม่ทำให้อุณหภูมิในพื้นที่สูงอย่างเขตการใช้พลังงานมากมายอย่างในชุมชนเมือง แต่เขตกสิกรรมก็ยังอุ่นกว่าเขตพื้นที่ ที่เป็นป่าอยู่ดี การเพิ่มขึ้นเหล่านี้ทำให้พื้นที่ของ ปรากฏการณ์เกาะร้อนขยายตัว และเชื่อมต่อกันจนครอบคลุมพื้นที่กว้างขว้างขึ้น

ปัญหาเกาะความร้อนที่รุนแรงได้เกิดขึ้นในหลายเมืองใหญ่ ทั้งกรุงเทพฯ โตเกียว  หรือย่างที่ชิคาโก้ในปี คศ. 1995 ได้คร่าชีวิตผู้คนราว 700 ราย และในกรุงปารีสในปี คศ. 2003 ครั้งนั้นมีการสูญเสียถึง 10,000 ราย จึงได้เกิดการรณรงค์ที่ Toronto ขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงโศกนาฏกรรมดังกล่าว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และได้มีการรณรงค์ให้มีการจัดสรรพื้นที่สีเขียว สำหรับปลูกต้นไม้บนอาคารเพื่อป้องกันรังสีไวโอเลต รวมทั้งลดความร้อน

ที่มา http://static.flickr.com/72/203595453_c849973c16_o.jpg

การปลูกต้นไม้ใหญ่ และไม้พุ่มเตี้ยรอบอาคาสิ่งก่อสร้าง และดาดฟ้าจะช่วยลดการใช้พลังงานในการทำความเย็นลดลง เมืองที่เต็มไปด้วยต้นไม้ยังสามารถช่วยแก้ปัญหา เกาะร้อน” ได้ดี แถวที่ทะเลสาปใน Miami  ได้มีการปลูกต้นไม้ 88 ต้นกระจายไปตามบ้านเรือนจำนวน 14 หลัง พบว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำความเย็นลงได้ และช่วยลดการเกิด CO2 ทั้งนี้ยังสามารถเลือกใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่สะท้อนแสง การใช้วัสดุและสีที่มีสีอ่อน ฉากกั้นและร่มเงาของต้นไม้ที่ติดตั้งอยู่นอกตัวอาคาร จะมีส่วนช่วยลดการรับความร้อนโดยตรงจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคารซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานเพื่อสร้างความเย็น รวมถึงการสร้างแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะให้มากขึ้น การช่วยกันประหยัดการใช้พลังงาน และรอบคอบในการทิ้งพลังงานทุกประเภทที่จะกลายสภาพเป็นความร้อน สู่บรรยากาศนับเป็นสิ่งที่เราควรตระหนักอย่างเร่งด่วน และไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ต้องร่วมมือร่วมใจกันในการแก้ไขปัญหาอย่างสามัคคี เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของเราเอง

 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก ปรากฏการณ์เกาะความร้อน

 

รายการอ้างอิง :

บัวอื่น.  (2556).  ปรากฏการณ์เกาะร้อน (Urban Heat island) กับความสับสนของภาวะโลกร้อน. ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2556, จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/37063.

Energy saving.  (ม.ป.พ.).  สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นวิเคราะห์ปรากฏการณ์เกาะความร้อนด้วยแบบจำลองด้านภูมิอากาศแบบใหม่. ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2556, จาก http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=15&cno=3950.– ( 1849 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three − = 2

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>