magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การประชุมวิชาการประจำปี การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหาย
formats

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหาย

การสัมมนา เรื่อง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหายวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น

ปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยกำลังถูกคุกคามอย่างมาก ทั้งผลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้เร่งฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมและเสียหายให้กลับคืนมา โดยความร่วมมือจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยีและนำไปใช้ให้อย่างเป็นรูปธรรม
วิทยากรประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐ จากการบรรยายในครั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้นำแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูมาใช้แก้ปัญหามาใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น

  1. การฟื้นฟูป่าโดยการโปรยเมล็ดจากอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดจิ๋ว (Micro-UAV)
  2. การส่งเสริมการปลูกป่า
  3. การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  4. การใช้เทคโนโลยีในการติดตามสภาวะของสิ่งแวดล้อมช่วยให้ได้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง


การฟื้นฟูป่าโดยการโปรยเมล็ดจากอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดจิ๋ว
การโปรยเมล็ดจากครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์เป็นวิธีการที่สามารถประยุก์ใช้การฟื้นฟูพื้นที่บริเวณกว้างเป็นวิะการที่ใช้กิจกรรมการเกษตรในบางประเทศและไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก การโปรยเมล็ดอาจล้มเหลวถ้าไม่ทดสอบเมล็ดที่เป็นชนิกเป้าหมายในพื้นที่ก่อน ปัจจัยที่จำเป็นที่ต้อง
พิจารณาได้แก่ ความสามารถในการงอกของเมล็ดชนิดเป้าหมาย ลักษณะพื้นที่และการเตรียมพื้นที่ ฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม การเก็บเมล็ด การรักษาเมล็ด การเตรียมเมล็ด และสัตว์ที่เป็นผู้ล่าเมล็ด

ปัจจุบันในการใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดจิ๋วสำหรับการฟื้นฟูป่าได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ด้วยความก้าวหน้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลกในปัจจุบันทำให้สามารถขนส่งเมล็ดไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างอัตโนมัติและแม่นยำ ด้วยความก้าวหน้าเกี่ยวกับซอฟแวร์(เช่น CAPSI leafsnap เป็นต้น) ทำให้สามารถบ่งบอกชนิดต้นไม้ได้

การส่งเสริมการปลูกป่า
กรส่งเสริมการปลูกป่าในพื้นที่กรรมสิทธิ์และมีเอกสารสิทธิครอบครองตามกฎหมายของประชาชน จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องดำเนินการควบคู่ไป ทั้งรายที่มีความพร้อมปลูกสวนป่าเป็นแปลงใหญ่เพื่อผลิตไม้สำหรับเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือการปลูกต้นไม้และทำการเกษตร
ร่วมกันในที่ดินแบบการทำฟาร์มป่าของเกษตรกรรายย่อยก็จะสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวนอกเขตป่าและผลิตไม้สำหรับใช้สอบในประเทศได้โดยจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาในหลายๆ ด้านเช่น การปรับปรุงพันธุ์ไม้ให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลง ชนิดไม้ที่มีความเหมาะสม
แต่ละพื้นที่ การจัดสวนป่าเพื่อให้ได้ผลผลิตไม้อย่างยั่งยืน และช่วยสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ

การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ทะเลไทยเคยมีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรสัตว์น้ำมหาศาล เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของชุมชนชายฝั่งและเป็นฐานทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญนี้ได้ถูกคุกคาม ทำลายให้เสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้ร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างจริงจัง โดยมีเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย หลักการสำคัญในการฟื้นฟูคือ

  1. ต้องเข้าใจถึงสภาพปัญหาที่ทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรมลง
  2. ธรรมชาติสามารถฟื้นฟูตัวเองได้หากปัจจัยที่คุกคามและทำลายทรัพยากรลดลงเช่น การรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ดี การลดผลกระทบ
  3. จากการท่องเที่ยวดำน้ำต่อแนวปะการังว การลดตะกอนจากแผ่นดินที่จะทับถมแหล่งหญ้าทะเลและแนวปะการัง
  4. ในพื้นที่ๆ เหมาะสมมนุษย์สามารถช่วยเร่งเวลาในการฟื้นฟูได้

ปัญหาและข้อจำกัดของการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งเกิดจากบุคลากรที่มีจำกัด การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถผลักดันงานฟื้นฟูทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น

การใช้เทคโนโลยีในการติดตามสภาวะของสิ่งแวดล้อมช่วยให้ได้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
โครงการติดตั้งระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมในแนวปะการัง ณ เกาะราชาใหญ่ สวทช.ได้สนับสนุนงบประมาณให้นักวิจัยจากศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการ ม.วลัยลักษณ์ และศูนย์เทคโนโลยอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกันดำเนินการระบบตรวจวัดดังกล่าวประกอบด้วย ตัวตรวจวัด วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการข้อมูล โครงการนี้จึงต้องเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในบริเวณนี้ พร้อมๆ กับก่สังเกตการฟื้นตัวของระบบแนวปะการัง และยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่น่าสนใจที่อาจจะนำมาปรับใช้เพื่อการติดตามสภาพแวดล้อมทางทะเลในอนาคต

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-2seminar.php– ( 90 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven + 1 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>