นักวิจัยเริ่มต้นด้วยข้อมูลจากสองเชื้อชาติ ทำการสำรวจเรื่องพัฒนาการของบุคคลช่วงเวลาหลายปี โดยรวบรวมข้อมูลทางสังคมประชากรโดยเปรียบเทียบ ข้อมูลจากเกรดเฉลี่ย คะแนนการทดสอบมาตรฐาน รายงานครูประจำชั้น ข้อมูลทางสังคม และสถานภาพการเข้าเมือง จากข้อมูลที่ได้นั้นนำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีที่นิยมนำมาใช้ในการอธิบายผลการเรียนของนักเรียนชาวอเมริกัน คือ ลักษณะทางสังคม ความสามารถในการคิด และจริยธรรมในการทำงานจากการสำรวจ นักเรียนอเมริกันเชื้อสายเอเชีย มีความเชื่อว่าปัญญาเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ ในขณะที่นักเรียนอเมริกัน ผิวขาวเชื่อว่าความสามารถทางปัญญาเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด นอกจากนี้ ความเชื่อในวัฒธรรมและการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย เป็นกุญแจหลักในการนำไปสู่ความพยายามที่มากขึ้น ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียเชื่อว่า การศึกษาเป็นสิ่ง สำคัญสำหรับอนาคตในการทำงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 40 Views)
ความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ในการสังเคราะห์โครโมโซมยีสต์
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถสังเคราะห์โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต (เซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูง) เป็นครั้งแรกในห้องทดลองสามารถสังเคราะห์โครโมโซม III จากยีสต์ Saccharomyces cerecisiae ซึ่งเป็นครั้งแรกของการสังเคราะห์โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต (เซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูง เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส รวมไปถึงสัตว์ พืช และเชื้อรา) ซึ่งความซับซ้อนของโครโมโซมมากกว่าในแบคทีเรียที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วก่อนหน้านี้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 22 Views)
กลิ่นของเพศชายมีผลต่อศึกษาทางชีวการแพทย์
นักประสาทวิทยา ทำการศึกษาเรื่องอาการเจ็บปวดในสัตว์ทดลอง สัตว์ทดลองจะมีการแสดงความรู้สึกและปฏิกิริยาตอบสนองแตกต่างกันออกไป เมื่อเขาได้ทดลองฉีดสารระคายเคืองที่เท้าของหนูทดลอง โดยปกติหนูทดลองจะเลียบริเวณที่มีการฉีดยาซึ่งเป็นสัญญาณว่า หนูทดลองได้รับความเจ็บปวด Mogil สังเกตเห็นว่า และสิ่งที่ไม่คาดคิดคือ หนูทดลองที่ไม่มีการแสดง อาการเจ็บปวดเมื่อได้รับการดูแลจากนักวิจัยเพศชาย เขาจึงสันนิษฐานว่า กลิ่นเพศชายทำหน้าที่เหมือนยาลดความเจ็บปวดให้แก่หนูทดลอง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 25 Views)
ความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ประสาทและพฤติกรรม
เซลล์ประสาทเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการเคลื่อนไหว การขยับไปมาและการบิดตัวไปมาของตัวอ่อนแมลงหวี่ Drosophila melanogaster การกระตุ้นเซลล์ประสาทชนิดเดียวกันในสัตว์ต่างชนิด ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันออกไป การค้นพบนี้สามารถนำมาใช้อธิบายความซับซ้อนของสมอง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับ สมองของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของเซลล์ประสาทและพฤติกรรม และ วางโครงการเพื่อเตรียมทำแผนที่ความสัมพันธ์ทางกายภาพของเซลล์ประสาทในตัวอ่อนแมลงหวี่ Drosophila ซึ่งจะเป็นข้อมูลเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาการทำงานของ เซลล์ประสาทร่วมกับการควบคุมพฤติกรรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 32 Views)
สิ่งที่น่ากังวลสำหรับการทำเหมืองแร่ในทะเลลึก
รัฐบาลประเทศปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea: PNG) และบริษัท Nautilus Minerals ประเทศแคนาดา ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการทำเหมืองแร่ในทะเลลึก ภายใน 2 ปีข้างหน้า โลกของเราจะมีหุ่นยนต์สำหรับตรวจสอบแร่ โดยสามารถตรวจสอบแร่ทองแดงและทองคำในทะเลลึกถึง 1500 เมตร นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลซึ่งวิตก กังวลกับการทำเหมืองแร่ที่จะเริ่มต้นขึ้น โดยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในทะเลลึก สิ่งมีชีวิต โครงการนี้ คาดว่าจะเริ่มปฏิบัติการได้ภายใน 30 เดือน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 26 Views)
FLAG DAY: วันธงชาติสหรัฐอเมริกา
วันที่ 14 มิถุนายน ของทุกปีในสหรัฐอเมริกา เป็นวัน “ธงชาติสหรัฐฯ” หรือ Flag Day วันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองการใช้ ธงชาติเป็น สัญลักษณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) โดยมติของ สภาแห่งทวีป (Continental Congress) ที่สอง กองทัพของสหรัฐฯ ได้ใช้วันนี้เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องในวันก่อตั้งกองทัพด้วยเช่นกัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1234—-62556– ( 17 Views)