GE บริษัทผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังพัฒนาการผลิตแบบการพิมพ์ 3 มิติเพื่อการผลิตเครื่องบินเจ็ท บริษัท General Electric (GE) กำลังปฏิรูปการผลิตชิ้นส่วนครั้งใหญ่ โดยแผนกผลิตอุปกรณ์เครื่องบินของ GE ซึ่งเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุด ในตลาดเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินเจ็ทกำลังเตรียมการผลิตหัวจ่ายน้ำมันสำหรับเครื่องจักรของเครื่องบินรุ่นใหม่ โดยใช้วิธีการพิมพ์ชิ้นส่วนด้วยเลเซอร์แทนการผลิตด้วยการหล่อและเชื่อมโลหะ วิธีการใหม่นี้มีชื่อว่าการผลิตแบบ additive (ซึ่งเป็นการผลิตวัตถุโดยการเพิ่มชั้นโลหะบางๆ ทีละชั้น) ซึ่งวิธีการนี้อาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนอื่นๆ ต่อไป
GE และ CFM International บริษัทร่วมลงทุนของ GE จะใช้หัวจ่ายน้ำมันที่ผลิตจากการพิมพ์ 3 มิติในเครื่องจักรของเครื่องบินเจ็ท LEAP ซึ่งจะเริ่มใช้งานในปลายปี พ.ศ. 2558 หรือต้นปี พ.ศ. 2559 โดยเครื่องยนต์หนึ่งตัวจะใช้หัวจ่ายน้ำมัน 10 – 20 ตัว ดังนั้น GE จึงต้องผลิตหัวจ่ายจำนวน 25,000 หัวต่อปี ในช่วงเวลา 3 ปี การผลิตแบบ Additive เป็นการผลิตด้วยวิธีการพิมพ์แบบสามมิติ ในระดับโรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าในปัจจุบัน วิธีการผลิตนี้ถูกใช้ในการผลิตชิ้นส่วนบางอย่าง เช่น อวัยวะเทียมและชิ้นส่วนต้นแบบ ในวงการวิศวกรรมและการออกแบบ แต่การนำเอาวิธีการผลิตนี้มาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนโลหะที่ใช้ในเครื่องยนต์ของเครื่องบินเจ็ทหลาย อันเครื่องถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเทคโนโลยีนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/12514-science-and-technology-news
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 91 Views)