magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home STKS การริเริ่มระบบมาตรฐานสากลเอกสารดิจิทัล DOI ประเทศไทย
formats

การริเริ่มระบบมาตรฐานสากลเอกสารดิจิทัล DOI ประเทศไทย

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ 


หัวข้อการบรรยาย : การริเริ่มระบบมาตรฐานสากลเอกสารดิจิทัล DOI ประเทศไทย
บรรยายโดย : รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เอกสารประกอบการบรรยาย  

สรุปจากการบรรยาย

DOI (Digital Objec6 Identifier) เป็นมาตรฐานสากล ISO รหัสบ่งชี้เอกสารดิจิทัลทั้ง วช. และ สวทช. ให้ความสนใจริเริ่มให้มีการศึกษาเรื่องนี้ที่ผ่านมาได้มีการบรรยาย และ การอบรมให้แก่หน่วยที่สนใจ

DOI คล้ายกับ ISBN, ISSN แต่มีความแตกต่าง DOI มีลักษณะดังนี้

  • มาตรฐาน ISO 26324 : 2012 ได้รับการรับรองเมื่อ 1 พ.ค. 2012 
  • ปัจจุบันมีรหัส DOI 85ล้านชื่อใน 9,500 องค์กร
  • มีจำนวนการป้อนข้อมูลเพื่อสืบค้น DOI จาก Handle system (dx.doi.org) 87 ล้านครั้ง/เดือน 
  • มีจำนวน publishers ID 2 แสนชื่อ ภายใต้การจัดการ Registrator Agency

เป็นการระบุชื่อไฟล์ดิจิทัล เป็นข้อมูลการจัดเก็บและอ้างอิงคล้าย ISBN/ISSn ช่วยในการจัดการเนื้อหา (content management) ตัวอย่าง 10.1000 Publisher ID/123456 ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ DOI ว่า “ตัวระบุวัตถุดิจิทัล” และ DOI อาจจะมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น รหัสดีโอไอ ตัวบ่งชี้วัตถุดิจิทัล ฯลฯ

ความเป็นมาของ DOI
DOI เกิดขึ้นเมื่อปี 1998 โดยมูลนิธิดีโอไอนานาชาติ หรือมูลนิธิไอดีเอฟ (International DOI Foundation: IDF) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาและบริหารระบบตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) (DOI System) พัฒนาเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการเนื้อหาดิจิทัล ใช้งบประมาณการดำเนินงานจากสมาชิก องค์กรที่พัฒนาคือ CNRI (Corporation for National Research Initiatives) เริ่มใช้ในธุรกิจสำนักพิมพ์เมื่อปี 1997 หน่วยงานที่สนับสนุนคือ สมาคมสำนักพิมพ์อเมริกัน สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ สมาคมสิ่งพิมพ์ออนไลน์ STM International ทำการเชื่อมโยงบทความวารสารเรียกว่า Crossref Registration Agency

หน่วยงานที่ใช้รหัส DOI

  • วารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • อุตสาหกรรมสารสนเทศ
  • หนังสือ
  • อุตสาหกรรมคอนเทนต์ ดนตรี ภาพ เสียง ซอฟต์แวร์
  • ตัวแทนจำหน่าย

IDF มอบหมายให้ ISTIC China ให้เป็น DOI Registration Agency ประจำประเทศจีน เมื่อปี 2555 รวมถึง JST ญี่ปุ่น อุตสาหกรรมบันเทิงก็มีการใช้มาตรฐาน DOI เพื่ออธิบายเมทาดาตาของข้อมูลเช่นกัน วัตถุประสงค์หลัก เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของไฟล์ดิจิทัลนั้นๆ ส่งเสริมธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ถือเป็นมาตรฐานเปิด (open standard) ไม่ได้มาแทนที่มาตรฐานอื่นๆ (ISTC, ISNI, RFID, ISSN, ISBN) แต่เป็นสิ่งที่มาเสริมให้เกิดการทำงานที่ดียิ่งขึ้น

ปัจจุบัน DOI เริ่มมีการนำไปปรับใช้กับเอกสารราชการ เช่น หน่วยงาน EC, OECD, UK goverment, DOD USA. เป็นต้น นอกจากนี้ DOI ยังมีบทบาทในการบริหารงานวิจัย เช่น NSF USA กำหนดให้ผู้ขอทุนวิจัยต้องจัดทำ Data management plan เสนอด้วย สำหรับประเทศไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนนี้โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

DOI ในประเทศไทยควรเริ่มต้นจากที่ใด

  • สำนักพิมพ์
  • หน่วยงานราชการ
  • หน่วยงานวิจัย
  • ห้องสมุดแห่งชาติ

วช. (NRCT) เป็น DataCite members ของประเทศไทย (สมัครเมื่อเดือนสิงหาคม 2555) และได้รับการรับรองเมื่อเดือนธันวาคม 2555– ( 266 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 2 = nine

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>