magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "Digital Object Identifier"
formats

ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifier)

ตัวบ่งชี้ทางบรรณานุกรม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN) และ เลขมาตรฐานประจำวารสาร (International Serial Number – ISSN) มีการใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แต่ด้วยความเติบโตอย่างรวดเร็วของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ เป็นความท้าทายหลักต่อระบบตัวบ่งชี้ที่มีมาแต่เดิม เนื่องจากตัวบ่งชี้แบบเดิม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือไม่ได้ถูกนำมาใช้ในอินเทอร์เน็ต นั่นเป็นเพราะ เลขที่อยู่ในเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ เช่น ISBN ไม่ได้เป็นหรือจะถูกตีความว่าเป็นตัวที่เชื่อมโยงด้วยเว็บบราวเซอร์ได้ ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent identifier-PI) มีหลายหน้าที่ แต่หน้าที่ที่สำคัญคือ เป็นตัวทำให้ตัวบ่งชี้แบบเดิมสามารถทำงานได้ในเว็บ และเป็นตัวจัดหาตัวเชื่อมโยงที่ถาวรไปยังสารสนเทศได้ การใช้ PI ต้องเป็น PI ที่ผู้ใช้สามารถให้ความเชื่อถือได้ว่าจะสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าตำแหน่งของสารสนเทศนั้นจะถูกเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ถาวรต้องถูกจับคู่กับตัวบอกตำแหน่งที่อยู่ (locator) ที่ทันสมัยซึ่งจะต้องทำให้เข้าถึงสารสนเทศได้ตามที่แจ้งไว้ได้ – ( 193 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

DOI จำเป็นหรือไม่อย่างไร

จากคำถามที่ส่งมาถามว่า ”หนูอยากทราบว่า journal ทุกอันจำเป็นต้องมี doi ไหมคะ แล้วอย่างxxxxเวชสารควรมี หรือไม่” เป็นคำตอบที่ตอบได้ไม่ยากเลยนะครับ เพียงแค่ทำความเข้าใจกับ DOI ก่อน DOI – Digital Object Identifier ….. ตัวชื่อก็บ่งบอกแล้วคือ Digital Object ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องมองในมุม Digital Environment ด้วย ไม่ควรเอาสื่อปกติมา (ความรู้เดิมกับสื่อปกติ) มาประกอบ คำถามที่ควรถามตัวเอง ก่อนถามว่าวารสารของฉันจำเป็นต้องมี DOI ไหม คือ วารสารอยู่ในรูปตัวเล่ม หรือ Digital กระบวนการผลิตเป็นดิจิทัลทั้งกระบวนการ เช่น Open Journal System หรือเป็นตัวเล่มแล้วจบด้วยสแกนเป็น PDF วารสารในรูปแบบดิจิทัล เผยแพร่อย่างไร ความเสถียรของระบบเครือข่ายที่เผยแพร่มีมากเพียงใด การรับประกันความเสถียรมีอย่างไร DOI Agency จะสนใจ Digital Environment และความเสถียรของระบบมาก ดังนั้นหากตอบแล้วว่าพร้อม ก็ทำได้เลยครับ แต่ถ้าไม่พร้อมก็ทำให้พร้อมก่อนแล้วค่อยเข้ากระบวนการ DOI  เพราะไม่มีไรที่เป็น

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การริเริ่มระบบมาตรฐานสากลเอกสารดิจิทัล DOI ประเทศไทย

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access” วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556 ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ  หัวข้อการบรรยาย : การริเริ่มระบบมาตรฐานสากลเอกสารดิจิทัล DOI ประเทศไทย บรรยายโดย : รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เอกสารประกอบการบรรยาย   สรุปจากการบรรยาย DOI (Digital Objec6 Identifier) เป็นมาตรฐานสากล ISO รหัสบ่งชี้เอกสารดิจิทัลทั้ง วช. และ สวทช. ให้ความสนใจริเริ่มให้มีการศึกษาเรื่องนี้ที่ผ่านมาได้มีการบรรยาย และ การอบรมให้แก่หน่วยที่สนใจ DOI คล้ายกับ ISBN, ISSN แต่มีความแตกต่าง DOI มีลักษณะดังนี้ มาตรฐาน ISO 26324 : 2012 ได้รับการรับรองเมื่อ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มาตรฐานสากลประจำเอกสารดิจิทัลและการอ้างถึงข้อมูลวิจัย

การอ้างถึงข้อมูลวิจัย (Research Data Citation) มีความสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยนั้นได้ ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลนี้ทำได้โดยใช้มาตรฐานการอ้างถึง โดยเฉพาะถ้าเป็นเอกสารดิจิทัลที่ต้องการใช้งานในระยะยาวควรมีการอ้างถึงโดย ระบุตัวบ่งชี้ถาวรที่เรียกว่ามาตรฐานสากลประจำเอกสารดิจิทัลหรือรหัสดีโอไอ ( Digital Object Identifier : DOI ) การอ้างถึงข้อมูล(data citation) หมายถึง การใช้รายการบรรณานุกรมเพื่อระบุที่มาของข้อมูลต้นฉบับที่ช่วยให้ผู้ใช้ ข้อมูลหรือนักวิจัยสามารถนำข้อมูลวิจัย(research data)มาใช้ประโยชน์ โดยทำให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้นและสะดวกตามมาตรฐานสากล  องค์ประกอบของข้อมูลการอ้างถึงที่ใช้เพื่อการอ้างถึง ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่พิมพ์ สำนักพิมพ์  ครั้งที่พิมพ์  ข้อมูลการเข้าถึงเช่น URL, ตัวบ่งชี้อื่นๆ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 118 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มาตรฐานสากลประจำเอกสารดิจิทัล : Digital Object Identifier (DOI)

มาตรฐานสากลประจำเอกสารดิจิทัลหรือเรียกว่า รหัสดีโอไอ (Digital Object Identifier : DOI) เป็นมาตรฐานใหม่ของ ISO 26324:2012 (Information and Documentation)ในการระบุตัวบ่งชี้ของเอกสารดิจิทัลหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือรหัสประจำเอกสารดิจิทัล(digital object) ซึ่งเป็นข้อมูลการจัดเก็บและการอ้างถึง ทั้งข้อมูลที่เป็นไฟล์ดิจิทัลและวัตถุอื่น ปัจจุบันมีการให้รหัสดีโอไอกับเอกสารดิจิทัลจำนวนมากกว่า 50 ล้านรายการทั่วโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) – ( 136 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments