magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home STKS การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยด้วยหลักการ Bibliometrics
formats

การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยด้วยหลักการ Bibliometrics

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ


หัวข้อการบรรยาย : การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยด้วยหลักการ Bibliometrics
บรรยายโดย : ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เอกสารประกอบการบรรยาย

สรุปจากการบรรยาย

ศูนย์ TCI (Thai Journal Citation Index) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2544 ศึกษาค่า Impact Factor ปัจจุบันมีอายุครบ 12 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศูนย์ TCI ปัจจุบันมีภาระงานที่สูงมาก ทั้ง สกอ. สมศ. สกว. ใช้ข้อมูลของ TCI ในการรับรองผลงานตีพิมพ์ ในปี 2555 ได้ส่งเข้าฐานข้อมูล Scopus ได้ 4 ชื่อ ซึ่งถือได้ว่าเริ่มเข้าสู่ระดับสากล

ศูนย์ TCI มีหลักการว่า คุณภาพบทความเท่ากับคุณภาพวารสาร ดังนั้นวิธีการตรวจสอบแค่ระดับวารสารน่าจะเพียงพอ (ไม่สามารถตรวจสอบระดับบทความ)

วิธีคัดเลือกวารสาร

  • ดูจากการถูก indexed ใน database หรือไม่
  • ดูจากค่า citation ของ journals
  • Journals ที่มีค่า IF (Impact Factor) สูง และ ค่า h-index
  • Journals ที่ได้รับการแนะนำจากนักวิจัย

ขณะนี้มีการดำเนินการ Asian Citation Index (ACI) เริ่มมีบทความของประเทศอินโดนีเซียเข้ามาบ้างแล้ว แต่ละประเทศต้องมีศูนย์ TCI ก่อน ในปัจจุบัน TCI มีวารสาร 514 ชื่อ (จากเดิมมีเพียง 100 ชื่อเมื่อปี 2004) และมี 1.3 แสนบทความ เกณฑ์มาตรฐานหลักของ TCI คือจะต้องมี peer-reviewed / timeliness

สรุปจากการบรรยายโดย
นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่ 

– ( 154 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 8 = fifteen

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>