magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "Bibliometrics"
formats

Bibliomining เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด

ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด Bibliomining มาจากคำ 2 คำ คือ Bibliometrics และ Data mining หมายถึง การประมวลผลข้อมูลของห้องสมุดด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากในระบบห้องสมุดที่ใช้กันอยู่ในประจำวันมาประมวลผล  ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ห้องสมุดและผู้บริหารห้องสมุดใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ในการทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด บุคลากร และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในห้องสมุดเพื่อ ประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด อ่านเพิ่มเติม– ( 99 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รายงานความร่วมมืองานวิจัยสาขาแพทยศาสตร์ในประเทศสิงคโปร์และออสเตรเลีย

Thomson Reuters ได้จัดทำรายงานวิเคราะห์เรื่อง รายงานความร่วมมืองานวิจัยสาขาแพทยศาสตร์ในประเทศสิงคโปร์และออสเตรเลีย โดยใช้กระบวนการทาง Bibliometrics และ ฐานข้อมูล InCites ของบริษัท Thomson Reuters เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล Bibliometrics เป็นการวัดและเปรียบเทียบสิ่งพิมพ์โดยใช้จำนวนผลงานวิจัย หรือ จำนวนการอ้างอิง หรือค่าเฉลี่ยจำนวนการอ้างอิงต่อหนึ่งบทความ ส่วนฐานข้อมูล InCites เป็นฐานข้อมูลที่เป็นเครื่องมือในการประเมินผลงานวิจัย (Web-Based Research Evalution Tool) ของบริษัท Thomson Reuters Thomson Reuters ใช้กระบวนการทาง Bibliometrics นับจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์สาขาแพทยศาสตร์ที่เป็นการวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิจัยสถาบันวิจัยสุขภาพด้านการแพทย์ (National Health and Medical Research Council : NHMRC) ประเทศออสเตรเลีย และ สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิจัย (Agency for Science, Technology and Research : A*STAR) ประเทศสิงคโปร์

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยด้วยหลักการ Bibliometrics

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access” วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556 ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ หัวข้อการบรรยาย : การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยด้วยหลักการ Bibliometrics บรรยายโดย : ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เอกสารประกอบการบรรยาย สรุปจากการบรรยาย ศูนย์ TCI (Thai Journal Citation Index) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2544 ศึกษาค่า Impact Factor ปัจจุบันมีอายุครบ 12 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศูนย์ TCI ปัจจุบันมีภาระงานที่สูงมาก ทั้ง สกอ. สมศ. สกว. ใช้ข้อมูลของ TCI ในการรับรองผลงานตีพิมพ์

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Thomson Reuters : บริการ InCites

บริษัท Thomson Reuters  ผู้นำการให้บริการสารสนเทศวิชาการแบบสร้างสรรค์ มีชื่อเสียงเป็นผู้ผลิตฐานข้อมูลการอ้างอิงแห่งแรกของโลก (Citation Index Database) และฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการการอ้างอิงเป็นหลัก เช่น  ฐานข้อมูล Journal Citation Report, JCR  แหล่งข้อมูลที่ให้ค่าผลกระทบ (Impact Factor, IF) ของวารสารวิชาการคุณภาพชั้นนำในสาขาต่างๆ ของโลก รวมถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตร Derwent World Patent Index, DWPI และ Thomson Innovation ผลิตโปรแกรม EndNote ที่ช่วยจัดการรายการบรรณานุกรมของบทความวิจัยในรูปแบบต่างๆ และยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศวิเคราะห์ทางวิชาการ บริษัท Thomson Reuters   ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ InCites เป็นครั้งแรกในเมืองไทยให้แก่ชุมชนห้องสมุด InCites คือ บริการประเมินคุณภาพการวิจัย (Research Performance Evaluation) ที่เป็นลักษณะเป็นแพลทฟอร์ม เว็บเบส หรือเป็นเครื่องมือ ที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยจากรายการบทความวิจัยตีพิมพ์  จากทั่วโลก เป็นระบบที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้ (Customized, citation-based

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments