ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์ จุฬาฯ อาเซียน “อาเซียนในกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง” ระหว่างวันที่ 15 – 21 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี หัวข้อปาฐกถาประกอบด้วย ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียนในกระแสการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์อาเซียนของภาครัฐในกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยไทยกับจังหวะก้าวใหม่ของอาเซียนในโลกที่กำลังเปลี่ยน แปลง โลกเปลี่ยน คนเปลี่ยน? พลเมืองอาเซียนในโลกที่กำลัง เปลี่ยนแปลง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการแสดงการแสดงนิทรรศการนำเสนอผลงานวิชาการและการ วิจัยด้านอาเซียนศึกษาในจุฬาฯ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้
- หัวข้อที่ 1 ยุทธศาสตร์อาเซียนของภาครัฐในกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง
ยุทธศาสตร์อาเซียนของภาครัฐมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการปรับใช้เนื้อหาในสามเสาหลักให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ในการปรับบทบาทและภารกิจของราชการครั้งนี้ ภาครัฐมีนโยบายในการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สิ่งใดที่เป็นโอกาสและความท้าท้ายของภาครัฐไทยในการมีบทบาทนำในภูมิภาคอาเซียน - หัวข้อที่ 2 ไปให้ไกลกว่า AEC 2015 : เพื่อรองรับกระแสโลกและภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ไม่ได้หยุดแค่จุดเริ่มต้นในปี 2016 ผู้นำอาเซียนคาดหวังให้ประชาคมเศรษฐกิจไปไกลว่านั้น แต่ประชาคมเศรษฐกิจก็ยังคงเผชิญความท้าท้ายในการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังผันผวน การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทะยานขึ้นในหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย ประเทศไทย และประชาคมอาเซียนจะต้องปรับตัวอย่างไร ยุทธศาสตร์ที่พึ่งปรารถนาควรเป็นเช่นไรจึงจะสอดคล้องกับภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปนี้ - หัวข้อที่ 3 รู้เขารู้เรา : ทางรอดไทย ทางรอดอาเซียน จัดโดย สถาบันเอเซียศึกษา
โครงการวิจัยชุด “ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน” เป็นการรวบรวมนักวิจัยที่ความเชี่ยวชาญในอาณาบริเวณศึกษา อันได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย มาร่วมกันทำวิจัยเพื่อให้เห็นถึงภาพความสัมพันธ์ของไทยกับเพื่อนบ้านจากมุมมองของเพื่อนบ้าน ควบคู่ไปกับการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้านที่มีต่อไทย โดยสะท้อนจากวรรณกรรม และสื่อของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งนับได้ว่าเป็นงานวิจัยที่ศึกษามุมมองของเพื่อนบ้านทั้ง 5 ประเทศที่มีต่อไทยอย่างเป็นรูปธรรม - หัวข้อที่ 4 มหาวิทยาลัยกับจังหวะก้าวใหม่ของอาเซียนในโลกที่เปลี่ยนแปลง
มหาวิทยาลัยเป็นส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในภูมิภาคความตื่นตัวของภาค มหาวิทยาลัยในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมทางวิชาการเป็นจำนวนมาก นโยบายของรัฐจึงมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนประเทศไทยจากบทบาทของภาคการศึกษา เช่นนั้น นโยบายรัฐที่ชี้นำการเปลี่ยนแปลงควรเป็นอย่างไร และมหาวิทยาลัยควรปรับตัวเช่นใดเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสอาเซียนในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงบ้าง - หัวข้อที่ 5 จัดตาการเลือกตั้งกัมพูชา 2013 จัดโดย ศูนย์แม่โขงศึกษา
ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีอาณาเขตติดกับไทย ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์กันในทุกระดับทั้งระดับรัฐบาลและประชาชน ดังนั้น ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศกัมพูชา จึงมีความสำคัญต่อสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน กรกฎาคม 2556 นี้ จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชา ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองว่า ภายในกัมพูชามีความเคลื่อนไหวอย่างไร ซึ่งสิ่งนี้จะสะท้อนถึงการเมืองภายในและกระบวนการการเป็นประชาธิปไตยของกัมพูชา อันจะส่งผลต่อไทยด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ - หัวข้อที่ 6 โลกเปลี่ยน คนเปลี่ยน? : พลเมืองอาเซียนในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง
แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนได้เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเด็นระดับภูมิภาพ เพื่อสร้างความตระหนักของการเป็นเจ้าของชุมชนแห่งนี้ร่วมกันในหมู่ประชาชนและรัฐสมาชิก นำไปสู่การสร้าง “พลเมืองอาเซียน” ท่ามกลาง บริบทของความขัดแย้งและความร่วมมือนี้ ความเป็นพลเมืองอาเซียนนี้จะเกิดขึ้นได้ อย่างไร ลักษณะของพลเมืองอาเซียนควรเป็นเช่นใด และจะมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอย่างไรบ้าง
กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อาเซียนศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3929, 0-2218-3933
– ( 170 Views)