magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Library 2.0 ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับโรงเรียน
formats

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับโรงเรียน

บริการหนึ่งของห้องสมุดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็คือ การทำบัญชีทรัพยากรสารสนเทศ โรงเรียนที่มีความพร้อมก็สามารถจัดซื้อจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Automated Library) หรือระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (ILS – Integrated Library System) มาใช้เพื่อบริการจัดการทรัพยากรสารสนเทศและบริการผู้ใช้ ซึ่งก็คือนักเรียน

ในขณะที่ห้องสมุดที่มีงบประมาณจำกัด อาจจะไม่สามารถจัดซื้อจัดหาได้ แต่ด้วยกระแสซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open Source Software: OSS) ที่ช่วยให้สามารถปรับประยุกต์ OSS มาใช้งานได้ จึงมีการเลือก OSS มาพัฒนา ILS หรือ Automated Library ให้โรงเรียน

จากที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับหลายหน่วยงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจ 2 – 3 ประเด็นที่อยากนำเสนอ ได้แก่

1) ความสามารถภาษาไทยของ OSS ที่เลือกใช้ … ส่วนมากผู้เลือกใช้ OSS ซึ่งอาจจะเป็นบรรณารักษ์ อาจจะไม่ทราบว่าประเด็นภาษาไทยในส่วนโต้ตอบกับผู้ใช้ ซึ่งได้แก่ เมนู คำสั่งต่างๆ ที่แสดงเป็นภาษาไทยนั้น ยังไม่ใช่ “หัวใจ” สำคัญของการเลือกใช้ OSS หัวใจสำคัญก็คือ ความสามารถในการสืบค้นภาษาไทย การเก็บอักขระภาษาไทย ซึ่งเป็นประเด็นเทคนิค … OSS ในกลุ่มนี้มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับ Thai Encoding โดยเฉพาะการสนับสนุน Character Set แบบ UTF-8 ที่ไม่สมบูรณ์ อันส่งผลให้การเก็บอักขระภาษาไทย การแสดงผลภาษาไทย มีข้อผิดพลาดได้ง่าย

ดังนั้นการเลือก OSS มาใช้ ควรคำนึงถึงประเด็นภาษาไทยให้เยอะ มากกว่าแค่ตามองเห็น

2) การใช้งานโดยผู้ใช้ … ระบบห้องสมุดไม่ว่าจะระบบใด มักจะถูกออกมาโดยยึดรูปแบบเดิมๆ ส่งต่อกันมาเหมือนกัน คือ เน้นข้อความ แต่ในยุคที่ “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” บนฐานของความหลากหลายทางเทคโนโลยี ระบบติตด่อกับผู้ใช้แบบดั่งเดิมแทบจะกลายเป็น “อุปสรรค” สำคัญที่ทำให้นักเรียนไม่ยอมมาใช้ห้องสมุด โดยเฉพาะด่านแรกของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือ ระบบสืบค้นหรือที่เรียกว่า OPAC เพราะมีแต่ช่องค้นแบบเดิม ผลลัพธ์การค้นที่มีแต่ข้อความ

การปรับปรุงส่วน OPAC จึงเป็นส่วนสำคัญของแนวทางการส่งเสริมการใช้ห้องสมุดยุคใหม่ เช่น การแสดงด้วยหน้าปกหนังสือด้วยเงื่อนไขต่างๆ เช่น หนังสือใหม่ หนังสือรางวัลซีไรท์ หนังสืออ่านนอกเวลา หนังสือตามเทศกาล เป็นต้น โดยรวมการดึง “หัวเรื่อง” หรือ Subject Heading ที่บรรณารักษ์กำหนดบนฐานของหลักวิชาการบรรณารักษ์ มาแสดง เพราะ “หัวเรื่อง” ที่กำหนดลงไป แทบจะไม่เป็นที่รู้จัก หรือคุ้ยเคยของผู้ใช้ และบรรณารักษ์ ก็ไม่ยอมรับคำค้นแบบฟรีเทอมของผู้ใช้เช่นกัน ในเมื่อหลักวิชาบังคับมาแบบนี้ และพฤติกรรมการใช้งานเป็นอีกแนวทาง วิธีการแสดง “หัวเรื่อง” ออกมาให้ผู้ใช้คลิกเลือก จึงน่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด

ท่านใดอยากเห็นตัวอย่างเยอะๆ แนะนำระบบห้องสมุดของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

3) การใช้งานระบบโดยบรรณารักษ์ระดับโรงเรียน ซึ่งส่วนมากไม่ได้จบบรรณารักษ์ เป็นเพียงครูวิชาต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลระบบห้องสมุด หากต้องมาเสียเวลากับการลงรายการ ย่อมเป็น “ภาระ” อันหนักอึ้ง ระบบห้องสมุดจึงควรออกแบบให้ง่ายต่อครูบรรณารักษ์ที่ไม่ได้จบตรง เช่น การสำรวจข้อมูลหนังสือจากอินเทอร์เน็ตด้วย ISBN แล้วแสดงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ให้ครูบรรณารักษ์ได้เลือก ระบบหัวเรื่องที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็ก ไม่ใช่เอาหัวเรื่องทั่วไปมาใช้กับเด็กเล็ก

ประเด็นเหล่านี้อาจจะถูกแย้งจากบรรณารักษ์วิชาชีพ แต่ก็อยากให้มองมุมกลับบ้าง สำหรับโรงเรียนใดที่สนใจซอฟต์แวร์ OSS ที่มีความสามารถใกล้เคียงกับเนื้อหาที่นำเสนอนี้ แนะนำให้ลองใช้โปรแกรม OSS ชื่อ OpenBiblio ที่ทีม STKS ปรับปรุง และกำหนดชื่อเรียกใหม่เป็น OpenBiblio รุ่น myLib กันดูนะครับ– ( 230 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

One Response

  1. ฟรีใช่ไหมครับ ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวลองก่อนได้ผลยังไง เดี๋ยวมาอับเดทให้ฟัง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


7 − three =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>