magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "Library"
formats

ความไม่แน่นอนกับอนาคตของห้องสมุด

ความไม่แน่นอนกับอนาคตของห้องสมุด จาก บทความ เรื่อง Uncertainty and the future of libraries โดย Daniel W. Rasmus ผู้เขียน เป็นที่ปรึกษาและวางแผนการวางแผนกลยุทธ์อิสระ ที่ช่วยวางแผนอนาคตขององค์กร เป็นผู้วิจัยถึงอนาคตของธุรกิจและการศึกษาของบริษัทไมโครซอฟท์ ซิสโก และองค์กรชั้นนำอีกหลายแห่ง Rasmus สอนวิชา Social media และทางกลยุทธ์ที่ Bellevue College Rasmus ได้ตั้งเป็นคำถาม 11 ข้อ  ที่จะเกี่ยวกับอนาคตของห้องสมุดที่อาจจะหมดยุคไปเลย ทั้ง 11 ข้อ มีดังนี้ How will we access information? How will we represent books? How low, or how high, can computer memory go?

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Collection analysis (ตอนที่ 4)

WorldCat Collection Analysis (WCA) เป็นบริการหนึ่งของ OCLC หรือ Online Computer Library Center, Inc ซึ่งมีจำนวนสมาชิกเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ราว 75,000 แห่ง WorldCat Collection Analysis (WCA) คือ การวิเคราะห์ Collection ของห้องสมุด เพื่อจะได้ทราบจุดแข็ง และจุดอ่อนของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ของห้องสมุด เห็นความความโดดเด่น และซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศ และนำผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างทรัพยากรสารสนเทศ ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ  และ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันระหว่างห้องสมุดในกลุ่มเดียวกัน  อ่านรายละเอ่ียด– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มุมสวย ไอเดียเก๋ สุดเลิศ และน่าทึ่ง ของห้องสมุด

ขอนำเสนอการจัดห้องสมุดในหลายๆ ด้าน เพื่อเป็นไอเดียค่ะ ประกอบด้วย ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ 10 แห่งที่สวยที่สุดในโลก ห้องสมุดนอกสถานที่ (outdoor library) และร้านขายหนังสือที่น่าทึ่ง 20 แห่งทั่วโลก ห้องสมุดที่ดูน่าสนุกสนาน เก้าอี้เก๋ๆ ในห้องสมุด ห้องอ่าน สุดเลิศ ชมภาพแต่ละแห่งได้ที่ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28-library-science/5051-lovely-library.html – ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Collection Analysis (ตอนที่ 1)

คำว่า “Collection” เป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ รวมทั้งผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดจัดหาให้บริการ ห้องสมุดมักจะมีการแบ่งทรัพยากรสารสนเทศออกเป็นหลายๆ Collection และหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะมีการแบ่งเป็นกี่ Collection ก็ตาม ห้องสมุดก็ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น พร้อมๆ กับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง – ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บรรณารักษ์ และห้องสมุดในภาพยนตร์กว่า 100 เรื่องของฮอลลีวูด

ที่เขียนเรื่องนี้ เพราะเกิดแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง A Beautiful Mind แต่ก่อนหน้านั้น ก็มีเรื่อง Lorenzo’s Oil หรือน้ำมันลอเรนโซ ที่ชอบมากๆ เพราะ Lorenzo’s Oil ฉายให้เห็นการค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดอย่างหนัก เพื่อให้ได้ข้อมูลการรักษาโรคของลูกชายวัย 5 ขวบ ที่เป็นโรค ALD (adrenoleukodystrophy) ที่รักษายาก และจะตายในอีก 1-2 ปี หลังจากที่พบว่าเป็น เห็นบทบาทของบรรณารักษ์และฉากการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งหาข้อมูลวิชาการเยอะ มากของกับพ่อแม่ของลอเรนโซ (อ่านบทวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=loveinthesky&group=2 และ http://www.gotoknow.org/posts/162860) ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เจาะลึกวิชาชีพบรรณารักษ์

จากเว็บไซต์ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/ ได้เจาะลึกวิชาชีพบรรณารักษ์ในรูปแบบของ infographic ในด้านต่างๆ เช่น อายุ: อายุของบรรณารักษ์  จะอยู่ในช่วง 20-24 ปี เพียง 1% แต่จะมีอยู่ในช่วงอายุ 25-54 มากที่สุด คือ 75% และ อายุมากว่า 55 ปี 24% เพศ: เพศที่มักประกอบอาชีพบรรณารักษ์ คือ ผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ 78% ที่เหลือ 22% เป็นผู้ชาย งานในห้องสมุดกับการทำงานของสมอง:  เป็นส่วนชอบมากที่สุด แสดงการใช้งานสมองซีกซ้ายและซีกขวาว่าสมองแต่ละซีกทำงานแบบใดในห้องสมุด เชิญชมภาพ infographic แบบเต็มร้อยได้เลยค่ะ– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Bibliomining เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด

ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด Bibliomining มาจากคำ 2 คำ คือ Bibliometrics และ Data mining หมายถึง การประมวลผลข้อมูลของห้องสมุดด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากในระบบห้องสมุดที่ใช้กันอยู่ในประจำวันมาประมวลผล  ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ห้องสมุดและผู้บริหารห้องสมุดใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ในการทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด บุคลากร และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในห้องสมุดเพื่อ ประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด อ่านเพิ่มเติม– ( 99 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Burnout

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเกิดความรู้สึกหรืออยู่ในสภาวะ Burnout หรือเปล่า เลยนั่งหาคำว่า burnout กับ stress ในงานห้องสมุด เล่นๆ เพลินๆ  เผื่อจะหายหรืออาจจะเป็นหนักมากขึ้น ก็เลยได้ของ (ข้อมูล) เกี่ยวกับเรื่องนี้ เยอะเลย เอามาฝากกันอ่านแบบพอประมาณค่ะ Bunge, Charles A. 1987. “Stress in the Library.” Library Journal. 112, no. 15: 47-52. Bunge, Charles A. 1989. “Stress in the Library Workplace.” Library Trends, 38, no. 1: 92-102. https://www.ideals.illinois.edu/bitstream/handle/2142/7642/librarytrendsv38i1k_opt.pdf Caputo, Jeanette S. 1991. Stress and Burnout in Library

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับโรงเรียน

บริการหนึ่งของห้องสมุดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็คือ การทำบัญชีทรัพยากรสารสนเทศ โรงเรียนที่มีความพร้อมก็สามารถจัดซื้อจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Automated Library) หรือระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (ILS – Integrated Library System) มาใช้เพื่อบริการจัดการทรัพยากรสารสนเทศและบริการผู้ใช้ ซึ่งก็คือนักเรียน ในขณะที่ห้องสมุดที่มีงบประมาณจำกัด อาจจะไม่สามารถจัดซื้อจัดหาได้ แต่ด้วยกระแสซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open Source Software: OSS) ที่ช่วยให้สามารถปรับประยุกต์ OSS มาใช้งานได้ จึงมีการเลือก OSS มาพัฒนา ILS หรือ Automated Library ให้โรงเรียน จากที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับหลายหน่วยงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจ 2 – 3 ประเด็นที่อยากนำเสนอ ได้แก่ – ( 229 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

ตัวบ่งชี้ถาวรดิจิทัลกับการทำงานข้ามระบบ

เป็นเพราะทรัพย์สินดิจิทัลหรือสารสนเทศดิจิทัล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำให้การบ่งชี้ดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสงวนรักษา การบริหารจัดการ การเข้าถึงและการนำกลับมาใช้ใหม่ของจำนวนข้อมูลมหาศาล หน้าที่ในการบ่งชี้การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การสัมพันธ์กับเจ้าของผลงาน และองค์ประกอบอื่นๆ (เช่น สถาบัน/องค์กร กลุ่มวิจัย โครงการ) ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าถึงการอ้างอิง การค้นคืน และการสงวนรักษาของทรัพยากรสารสนเทศทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ ข้อสรุปบางประการสำหรับตัวบ่งชี้สารสนเทศดิจิทัลได้มีการเสนอในหลายๆ แห่งแตกต่างกัน เช่น ห้องสมุด สำนักพิมพ์ เป็นต้น และอีกหลายๆ มาตรฐานที่ยังอยู่ในระยะที่เริ่มได้ที่ของการพัฒนา (เช่น DOI, Handle, NBN, ARK, Scopus Id, ResearcherID, VIAF เป็นต้น) แต่ข้อด้อยสำคัญที่ยังคงทำให้ตัวบ่งชี้ถาวรเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งบางครั้งมีความเห็นที่ตรงกันข้ามในหลายประเด็นที่ต้องมีการถกเถียงกันต่อไป และด้วยความที่มีตัวบ่งชี้ดิจิทัลหลายตัว จึงเป็นเรื่องท้าทายไปถึงการหาข้อสรุปในการให้ตัวบางชี้เหล่านั้น สามารถทำข้ามระบบกันได้ (interoperability) APARSEN (Alliance for Permanent Access to the Records of Science Network) ได้สำรวจความสามารถในการทำงานข้ามระบบระหว่างตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifiers-PIs)

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments