จุลสาร (Booklet, Pamphlet) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่ลงข่าวสารหรือความรู้ อาจเสนอความรู้เป็นเรื่องๆ หรือหัวข้อเฉพาะเรื่อง ผลิตออกเผยแพร่ไม่ต่อเนื่อง เป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน จัดอยู่ประเภทของหนังสือ แต่มีลักษณะเล็กและบาง ไม่แข็งแรง อาจเป็นแผ่นกระดาษชพับซ้อนกัน หรือไม่เย็บเป็นเล่ม หรืออาจเป็นสิ่งพิมพ์ที่เย็บเล่มแต่มักใช้ปกอ่อนหุ้มหรือไม่หุ้มปกหุ้ม สามารถพกพาสะดวก ซึ่งประกอบไปด้วยความหนาอย่างน้อย 5 หน้า แต่ไม่เกิน 48 หน้า มีจำนวนคำอยู่ในช่วง 500 -1,000 คำ มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวและจบบริบูรณ์ภายในเล่ม มักเป็นการจัดทำโดยหน่วยงานราชการ องค์การ สถาบันต่างๆ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ พิมพ์แจกแก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ และเป็นสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่า ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษเพื่อเผยแพร่งานเขียนในศตวรรษที่ 16
การจัดเก็บจุลสารนั้น ห้องสมุดจะกำหนดหัวเรื่องตามเนื้อหาของจุลสาร จัดเก็บใส่แฟ้ม แล้วนำเก็บไปไว้ในตู้หรือชั้นเก็บเอกสาร โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่องนั้นๆ
โดยห้องสมุดใช้สัญลักษณ์แทนเลขหมู่ ดังนี้
จุลสารภาษาไทย ใช้ จ.ส. ย่อจาก จุลสาร
จุลสารภาษาต่างประเทศ ใช้ V.F. ย่อจาก vertical file เป็นต้น
อ้างอิง :
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2548). สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). จุลสาร-จดหมายข่าว-แผ่นพับ-แผ่นปลิว. ค้นคืนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2975.
อัมพร ทีขะระ. (2528). ศัพท์วิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Reitz, Joan M. (2004). Pamphlet. Retrieved July 24, 2013, From http://www.abc-clio.com/ODLIS/odlis_p.aspx.
– ( 152 Views)