magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Digital Archives ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifier)
formats

ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifier)

ตัวบ่งชี้ทางบรรณานุกรม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN) และ เลขมาตรฐานประจำวารสาร (International Serial Number – ISSN) มีการใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แต่ด้วยความเติบโตอย่างรวดเร็วของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ เป็นความท้าทายหลักต่อระบบตัวบ่งชี้ที่มีมาแต่เดิม

เนื่องจากตัวบ่งชี้แบบเดิม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือไม่ได้ถูกนำมาใช้ในอินเทอร์เน็ต นั่นเป็นเพราะ เลขที่อยู่ในเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ เช่น ISBN ไม่ได้เป็นหรือจะถูกตีความว่าเป็นตัวที่เชื่อมโยงด้วยเว็บบราวเซอร์ได้ ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent identifier-PI) มีหลายหน้าที่ แต่หน้าที่ที่สำคัญคือ เป็นตัวทำให้ตัวบ่งชี้แบบเดิมสามารถทำงานได้ในเว็บ และเป็นตัวจัดหาตัวเชื่อมโยงที่ถาวรไปยังสารสนเทศได้ การใช้ PI ต้องเป็น PI ที่ผู้ใช้สามารถให้ความเชื่อถือได้ว่าจะสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าตำแหน่งของสารสนเทศนั้นจะถูกเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ถาวรต้องถูกจับคู่กับตัวบอกตำแหน่งที่อยู่ (locator) ที่ทันสมัยซึ่งจะต้องทำให้เข้าถึงสารสนเทศได้ตามที่แจ้งไว้ได้

ก่อนที่จะกล่าวถึงตัวบ่งชี้ถาวรที่มีการพัฒนาอยู่หลายตัวต่อไป ขอกล่าวถึงความหมายของตัวบ่งชี้ เพื่อให้มีความหมายที่ชัดเจนตรงกันก่อน จอห์น คุนซ์ ได้ให้ความหมาย ใน DCC Workshop on Persistent Identifiers ว่า

1. ตัวบ่งชี้ถาวร ควรจะถูกกำหนดให้กับสารสนเทศเพื่อจะเก็บไว้ในระยะยาว
2. ตัวบ่งชี้ถาวรหนึ่งๆ และบริการที่มีจะต้องมีหน้าที่อย่างน้อยที่สุดเป็นตัวบ่งชี้สารสนเทศ สารสนเทศอาจจะถูกถ่ายโอนหรือมีการเป็นข้อมูลเก่า หรือข้อมูลในแต่ละชุด อาจจะไม่สามารถเข้าถึงได้หรือใช้ได้ ผู้ใช้ที่มีตัวบ่งชี้ถาวรและได้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้เพราะเกิดการ redirect ไปยังข้อมูลล่าสุดที่ยังคงสามารถเข้าถึงหรือใช้ได้

บทความนี้ เป็นการแนะนำชื่อของ PI ให้รู้จักในเบื้องต้นเท่านั้น

ตัวบ่งชี้หลักๆ ได้แก่

 

  • Handle system เป็นระบบที่ใช้พร็อกซีเป็นแฮนเดิลรีโซฟเวอร์สำหรับยูอาร์แอล ระบบ Handle system เป็นระบบซึ่งเก็บชื่อหรือ handle ของทรัพยากรสารสนเทศโดยสามารถชี้ตำแหน่งและเข้าถึงรายการสารสนเทศนั้นๆ พัฒนาโดย The Corporation for National Research Initiatives (CNRI) โดยมีวัตถุประสงค์ในการบริหาร การจัดการสำหรับสารสนเทศบนเครือข่าย  เป็นระบบที่ประกอบด้วยโปรโตคอลที่สามารถเก็บ handles ของทรัพยากรและแปลง handles เหล่านั้น เป็นสารสนเทศที่จำเป็นในการชี้และเข้าถึงทรัพยากรนั้นๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง handles แต่อย่างใด (http://www.handle.net)
  • Persistent URL (PURL) พัฒนาโดย The Online Computer Library Center, Inc (OCLC) โดยใช้เทคโนโลยีของยูอาร์เอ็นสร้างตัวบ่งชี้ด้วยการกำหนดชื่อเป็น “Persistent URLs” หรือ PURLs (เพิร์ล) ซึ่งพัฒนาและเริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1996 โดยหน้าที่ของเพิร์ล คือ ยูอาร์แอลตัวหนึ่ง แต่แทนที่จะชี้ไปยังตำแหน่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตโดยตรง เพิร์ลจะชี้ไปที่รีโซลูชันก่อน ซึ่งชี้ไปยังอาร์แอลตัวจริงอีกต่อหนึ่ง แล้วจึงส่งยูอาร์เแอลนั้นคืนไปที่ผู้ใช้ ซึ่งสามารถติดต่อกับยูอาร์แอลได้ตามปรกติ (http://purl.org)
  • Uniform Resource Name (URN) The Internet Engineering Task Force หรือ IETF ได้เริ่มโครงการ Uniform Resource Names นี้ขึ้น โดยการใช้ยูอาร์เอ็นแก้ปัญหาความไม่ถาวรของยูอาร์แอลนั้น เป็นการทำให้ยูอาร์เอ็นทำหน้าที่เป็นชื่อที่ชี้หรืออ้างถึงทรัพยากรหรือกลุ่มของสารสนเทศมากกว่าการอ้างถึงสถานที่ เช่น ยูอาร์เอ็น อาจจะประกอบด้วยเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ตัวอย่างเช่น ยูอาร์เอ็นที่อ้างถึงหนังสือเรื่อง การสร้างคลังเอกสารดิจิทัล Greenstone โดย สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ และบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ จะมียูอาร์เอ็นเป็น urn:9789745988125
  • OASIS Extensible Resource Identifier (XRI) พัฒนาโดย OASIS XRI Technical Committee จุดประสงค์ของ XRI คือ การกำหนด  URI ให้ตรงกับ  namespace ของยูอาร์เอ็น เพื่อให้มีการกระจายไดเร็กทอรี่ ทำให้สามารถชี้แหล่งสารสนเทศ (รวมทั้งบุคคลและองค์กร) และแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามโดเมน (http://www.oasis-open.org/committees/xri)
  • DOI (Digital Object Identifier) ตัวบ่งชี้วัตถุดิจิทัล หรือดีโอไอ กับเอกสารดิจิทัลเป็นการตั้งชื่อหรือรหัสหรือเลขประจำตัวของเอกสารดิจิทัล รหัสดีโอไอ ช่วยให้ค้นหาและเชื่อมโยงการเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัลได้สะดวก ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนที่อยู่ของเว็บไซต์หรือยูอาร์แอลก็ตาม ตัวบ่งชี้จะไม่เปลี่ยน โดยมีเทคโนโลยีในการจัดการเมทาดาทาของเอกสารดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเป็นตัวบ่งชี้ที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทำงานข้ามระบบ (Interoperable identifier) ของระบบ DOI เพื่อการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีในอนาคต (http://www.doi.org)
  • Life Science Identifiers (LSID) แนวคิดของ LSID เพื่อผลักดันการตั้งชื่อและการกำหนดตัวบ่งชี้สารสนเทศที่เก็บอยู่ในหลายแหล่งหรือที่กระจายกันอยู่เพื่อที่จะพยายามเอาชนะข้อจำกัดชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ด้วยการกำหนดแบบง่ายๆ  LSID ให้ชื่อที่เป็นมาตรฐานสำหรับวิทยาศาสตร์และเพื่อให้ใช้งานข้ามระบบกันได้ (http://sourceforge.net/projects/lsid/)
  • Name to Thing (N2T) เป็นข้อเสนอโดย John A. Kunze แห่ง California Digital Library (CDL) ในการพยายามที่จะจัดการการบูรณาการชื่อที่แตกต่างกัน และจัดการกับความท้าทายของความยืนยาวของตัวบ่งชี้ถาวร และการทำงานข้ามระบบผ่านข้อกำหนดของเครือข่าย (http://www.nst.info)
  • Library of Congress Control Number (LCCN) Permalink หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (The Library of Congress) ได้พัฒนา LCCN Permalink เป็นการให้บริการ ยูอาร์เแอลถาวรตัวใหม่เพื่อสร้างความเชื่อมโยงไปยังระเบียนบรรณานุกรมในฐานข้อมูลออนไลน์ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันและระเบียนของข้อมูลหลักฐาน (Authority records) ลิงค์เหล่านี้ถูกสร้างโดยการใช้ระเบียนใน LCCN (หรือ Library of Congress Number) หรือหมายเลขประจำระเบียนของรายการทางบรรณานุกรม และมีตัวบ่งชี้ที่หอสมุดรัฐสภาอเมริกันกำหนดขึ้น  หมวดหมู่ของลิงค์ถาวรนี้ถูกอ้างอิงด้วยระเบียนบรรณานุกรมในห้องสมุดออนไลน์ด้วยการลงรายการแบบมาร์ค (MARCXML) ใน MODS (Metadata Object Description Scheme) และดับลินคอร์ (http://lccn.loc.gov)

นอกจากนี้ยังมี

  • Archival Resource Keys (ARK)
  • The National Bibliographic Number (NBN)
  • InChI (IUPAC International Chemical Identifier)
  • Persistent Identifier Linking Infrastructure (PILIN)
  • Network of Expertise in Long-Term Storage of Digital Resources (NESTOR)
  • Enhancement of Persistent Identifier Services -Comprehensive Method for
  • Unequivocal Resource Identification (EPICUR)
  • Info URI

บรรณานุกรม

Hakala, Juha. 2010. Persistent identifiers – an overview. http://metadaten-twr.org/2010/10/13/persistent-identifiers-an-overview/

Kunze, John. 2008. Persistent Identifier Principles and Practice. http://dc2008.de/wp-content/uploads/2008/09/dc2008_id_all_slides.pdf

Willett, Perry. 2013. Data Identifiers for Sharing, Citing, and Archiving Your Data. http://www.cdlib.org/services/uc3/dmp/identifying.html

Emanuele Bellini, Chiara Cirinnà, Maurizio Lancia, Maurizio Lunghi, Roberto Puccinelli, Massimiliano Saccone, Brunella Sebastiani, Marco Spasiano. 2009. Persistent Identifier Distributed System for Digital Libraries. http://conference.ifla.org/past/ifla75/193-lunghi-en.pdf

Persistent Identifiers in brief. http://www.rinascimento-digitale.it/documenti/nbn/PersistentIdentifersInBrief.pdf– ( 194 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− 1 = four

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>