magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ เงื่อนงำปัญหาของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยา
formats

เงื่อนงำปัญหาของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยา

ที่มา: http://www.nih.gov/about/impact/index.htm
โดย: Vicki Contie

ST_News_Aug_13_2

National Institute of Health รายงานว่า  นักวิจัยพบว่าการรักษาโรคมาเลเรียในขั้นต้นกำลังลด ประสิทธิภาพลงในทวีปเอเชีย  โดยค้นพบว่ามีจีโนมของปรสิตที่สามารถดื้อยาได้  การค้นพบดังกล่าวได้ทำให้ ทราบเงื่อนงำปัญหาในการป้องกันการขยายตัวของโรคมาเลเรียที่รุนแรงเกินแก้ไข

ในแต่ละปี โรคมาเลเรียได้คร่าชีวิตผู้คนไปกว่าครึ่งล้านคน และทำให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 200 ล้านคนในทั่วโลก และส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ร้อนชื้น การรักษาโดยใช้ยาซึ่งมีส่วนประกอบ ของสารอาติมิซินิน (Artemisinin) ได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สิบกว่าปี ที่แล้วมา เพื่อช่วยลดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วย แต่เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขได้รับสัญาณเตือนโดยการเกิดขึ้นของปรสิตที่ดื้อสาร- อาติมิชินิน ซึ่งพบในผู้ป่วยในประเทศกัมพูชา และมีรายงานที่ยังไม่มี การยืนยันระบุไว้ว่า อาจมีการดื้อสารอาติมิชินินในประเทศใกล้เคียงด้วย อาทิ ประเทศไทยและประเทศพม่า และกำลังมีความพยายามใน หน่วยงานระหว่างประเทศที่จะรวบรวมปัญหาการดื้อยานี้อยู่

ได้มีนักวิทยาศาสตร์นานาชาติทีมหนึ่ง ได้ทำการวิจัยที่ เกี่ยวข้องกัน เพื่อสังเกตวิวัฒนาการและการระบาดของเชื้อมาเลเรีย ที่ดื้อสารอาติมิซินินเป็นจำนวนสองเรื่อง งานวิจัยดังกล่าวได้รับการ สนับสนุนจาก the Wellcome Trust and NIH’s National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIAID) และ NIH โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยมากกว่า 3,000 คนจากโรงพยาบาลใน ภาคเหนือของประเทศไทย ในช่วงปี 2001-2010 ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ มาจากเขตติดต่อกับประเทศพม่า และได้รับการบำบัดรักษาด้วย สารอาติมิซินิน นักวิจัยได้ตรวจสอบว่า มีการดื้อสารอาติมิซินินได้ เกิดในเขตชายแดนพม่าจริงหรือไม่และมีรายงานผลการวิจัยล่วงหน้าเผยแพร่ออ นไลน์ทาง Lancet on April 5, 2012 ซึ่งนักวิจัยได้วัด ความรวดเร็วที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาเพื่อกำจัดปรสิตมาเลเรียจากเลือด และการรักษาที่ล่าช้าที่ทำให้เชื้อโรคดื้อยา นักวิจัยยังพบว่า อัตราส่วน ของการติดเชื้อที่รักษาล่าช้าได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.6 ในปี 2001 และร้อยละ 20 ในปี 2010 โดยในปี 2001 พบว่า มีการนำผู้ป่วย ไปรักษาเพื่อกำจัดเชื้อปรสิตจำนวนครึ่งหนึ่งออกจากเลือดเฉลี่ย 2.6 ชั่วโมงในปี 2010 อัตราการกำจัดครึ่งหนึ่งของการกำจัดยาวนานถึง 3.7 ชั่วโมง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/13585-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนสิงหาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 19 สิงหาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three + = 6

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>