magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Librarian มาตรฐาน RDA (Resource Description and Access)
formats

มาตรฐาน RDA (Resource Description and Access)

จากการเข้าฟังบรรยายวิชาการ เรื่อง การลงรายการตามมาตรฐาน RDA โดย อาจารย์ นันทพร ธนะกุลบริภัณฑ์ (สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยสามารถสรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้

มาตรฐาน RDA (Resource Description and Access) เป็นมาตรฐานการลงรายการรูปแบบใหม่ หรือ New Content Standards ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแทนที่มาตรฐานการลงรายการ AACR2 ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดยความร่วมมือของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน สมาคมห้องสมุดแคนาดา และสมาคมวิชาชีพห้องสมุดและสารสนเทศ โดยมี Conceptual models ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงรายการบรรณานุกรม คือ

  • โมเดลการลงรายการบรรณานุกรมข้อมูลที่เรียกว่า Functional Requirements for Bibliographic Records (FRBR) สำหรับรองรับการลงรายการข้อมูลได้ทุกรูปแบบทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์ ไฟล์ดิจิทัล และในสังคมดิจิทัล
  • โมเดลการลงรายการบรรณานุกรมข้อมูล Functional Requirements of Authority Data (FRAD)

นอกจากนี้การลงรายการบรรณานุกรมของมาตรฐาน RDA ยังสามารถใช้ร่วมกับมาตรฐาน MARCได้ โดยการเพิ่ม Tag การลงรายการให้สอดคล้องกับการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และ RDA data ยังสามารถเข้ารหัสโดยใช้ encoding schema ที่มีอยู่เดิมหรือที่ใช้กับ AACR2 ได้

มาตรฐานการลงรายการสารสนเทศสื่อดิจิทัลตามรูปแบบ RDA มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดของการอธิบายรายละเอียดของทรัพยากรและวิธีการจัดการสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ตรงตามความต้องการโดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้

  1. การค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ (Find)
    การค้นพบ resources ตรงกันกับผลการค้นตาม criteria ของผู้ใช้
  2. การระบุหรือชี้บอกถึงข้อมูลที่ต้องการ (Identify)
    การยืนยันว่า resources ที่พบตรงกับที่ค้นหา โดยสามารถแยกหรือระบุความแตกต่างระหว่าง resources อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันได้
  3. การคัดเลือกข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (Select)
    การเลือก  resources ที่ผู้ใช้ต้องการ ตรงตามเนื้อหา ประเภท ลักษณะรูปร่าง
  4. การได้รับข้อมูลที่ต้องการ (Obtain)
    การรับหรือเข้าถึง item ที่เลือก โดยวิธี ซื้อ ขอยืม ฯลฯ

ข้อสังเกตของ FRBR Model มีดังนี้

  • FRBR เป็น set ของความคิดเชิงโครงสร้างที่เป็นพื้นฐานของกฎ/หลักเกณฑ์การลงรายการที่จะพัฒนาในรุ่นต่อๆ ไป
  • FRBR ไม่ใช่ Cataloging Rules เหมือน AACR2
  • FRBR ไม่ใช่ Data Format เหมือน MARC21
  • FRBR ไม่ใช่ Metadata Schema เหมือน Dublin Core Metadata
  • FRBR ไม่ใช่  Mark-up Language เหมือน XML

มาตรฐานการลงรายการสารสนเทศดิจิทัล RDA ประกอบด้วยข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 ชื่อเรื่อง (title)ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง และประเภทหรือลักษณะของทรัพยากรนั้นๆ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ work, expression, manifestation, item โดยมีรายละเอียดการอธิบายลักษณะของกลุ่มที่ 1 นั้น จะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มที่ 2 ดังนี้

  1. work
    งานจากความคิดริเริ่ม/สร้างสรรค์ (ideas) ด้วยตนเอง ซึ่ง element ของ work ได้แก่  ชื่อเรื่องของงาน ผู้แต่ง ปีที่สร้างงาน และ identifier
  2. expression
    วิธีการสื่อสารถ่ายทอดความคิดริเริ่ม/สร้างสรรค์นั้นๆ ออกมาให้สามารถเข้าใจได้ ในรูปแบบการนำเสนอหนึ่งๆ ซึ่ง element ของ expression ได้แก่ ภาษาของงาน ปีของงาน และรูปแบบการนำเสนอ
  3. manifestation
    การบันทึกงานหรือเนื้อหาในประเภทสื่อ/ตัวนำพาเนื้อหา (carrier) ซึ่งบ่งบอกรูปแบบทางกายภาพในรูปแบบต่างๆ ซึ่ง element ของ manifestation ได้แก่ ชื่อผู้จัดพิมพ์ ผู้รับผิดชอบต่างๆ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่ตีพิมพ์/เผยแพร่ และรูปลักษณ์ทางกายภาพ
  4.  item
    physical form และจำนวนของตัวนำพาเนื้อหาทั้งหมดที่บันทึกของงานนั้นๆ ไว้ เช่น บันทึกนวนิยาย 1 เรื่อง ไว้ในหนังสือ 3 เล่มจบ หรือในซีดีรอม 2 แผ่น ซึ่ง element ของ item ได้แก่ จำนวนทั้งหมดของชิ้นงาน จำนวนที่ครองอยู่ (holdings) และสถานที่จัดเก็บ

กลุ่มที่ 2 ชื่อผู้แต่ง (author) ประกอบด้วยชื่อผู้แต่งและองค์กรที่รับผิดชอบในการจัดทำ ได้แก่ person and corporate body และมีความสัมพันธ์กลับกลุ่มที่ 3

กลุ่มที่ 3 หัวเรื่อง (subject) ประกอบด้วย หัวเรื่อง และสถานที่จัดเก็บ ได้แก่ concept, object, event, and place

 – ( 819 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − = 3

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>