ที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ลดลงเลย สถิติผู้ป่วยในปีนี้ช่วงแปดเดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.56) มีจำนวนกว่าหนึ่งแสนรายถ้าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดผู้ป่วยของปีนี้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัว (ตามรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงไม่น้อยเลย
โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย โรคนี้ติดต่อโดยมียุงลายตัวเมีย (หากินเวลากลางวัน) เป็นพาหะนำโรค โดยเมื่อมันไปกัดผู้ป่วยที่เป็นโรค เชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกก็จะเข้าสู่ตัวยุงระยะฟักตัวของเชื้อในยุงประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดระยะฟักของเชื้อในคนประมาณ 5-8 วัน จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคไข้เลือดออก
นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 6, กันยายน 2556. เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง แอพบนมือถือเพื่อตรวจสอบสารอาหารในต้นข้าว ค้นหาความลับของสีสันบนปลายปีกผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2556 กับโรคในกล้วยไม้สกุลหวาย และมะพร้าวแตกใบคล้ายเศียรพญานาค
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130902-sarawit-issue6.pdf
รายการอ้างอิง :
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). สาระวิทย์. 6(9). จาก http://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit– ( 54 Views)