magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "sarawit"
formats

สาระวิทย์ เดือนมีนาคม 2557 (12)

เรื่องเด่น เรื่องจากปก : สวทช.โชว์ผลงานวิจัยเด่นในงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2557 หน้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก : เมนูอาหารเช้า 7 ชนิด ที่ควรหลีกเลี่ยง ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย : หญิงไทยคนแรกที่ได้เดินทางท่องอวกาศ แพทย์ศิริราชผ่าตัดใส่หัวใจเทียมสำเร็จรายแรกของไทย ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์ : ต้นไม้คายน้ำเป็น “แม่คะนิ้ง!” – ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สาระวิทย์ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 (11)

นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 11, กุมภาพันธ์ 2557 เรื่องเด่น: 4 เยาวชนไทย วิจัย “สาหร่ายหางกระรอก”บนเที่ยวบินสภาวะไร้น้ำหนัก เกาหลีใต้พัฒนานาโนโรบอทรักษาโรคมะเร็ง สหรัฐฯ สนโครงการบัตรเภสัชพันธุศาสตร์ของไทย ญี่ปุ่นจ้างไทยสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล จิ้งเหลน 2 หัว – ( 13 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สาระวิทย์ เดือน มกราคม 2557 (10)

นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 10, มกราคม 2557 เรื่องเด่น : ทึ่ง ซึ้ง รั่ว กับครอบครัวสัตว์โลก (ตอนที่ 2) ยาน “ฉางเอ๋อ-3” ของจีนลงจอดบนดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จ ความเชื่อเกี่ยวกับต้นตะเคียนยักษ์ ไทยส่งสองนักวิจัยหญิงร่วมสำรวจขั้วโลกใต้กับจีน ชาวไทยรอลุ้น แพนด้าน้อยน้องหลินปิง – ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคไข้เลือดออกยังเป็นโรคที่น่ากลัวเสมอ

ที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ลดลงเลย สถิติผู้ป่วยในปีนี้ช่วงแปดเดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.56) มีจำนวนกว่าหนึ่งแสนรายถ้าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดผู้ป่วยของปีนี้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัว (ตามรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงไม่น้อยเลย โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย โรคนี้ติดต่อโดยมียุงลายตัวเมีย (หากินเวลากลางวัน) เป็นพาหะนำโรค โดยเมื่อมันไปกัดผู้ป่วยที่เป็นโรค เชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกก็จะเข้าสู่ตัวยุงระยะฟักตัวของเชื้อในยุงประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดระยะฟักของเชื้อในคนประมาณ 5-8 วัน จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคไข้เลือดออก นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 6, กันยายน 2556. เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง แอพบนมือถือเพื่อตรวจสอบสารอาหารในต้นข้าว ค้นหาความลับของสีสันบนปลายปีกผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2556 กับโรคในกล้วยไม้สกุลหวาย และมะพร้าวแตกใบคล้ายเศียรพญานาค อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130902-sarawit-issue6.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556).  สาระวิทย์. 6(9). จาก http://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กรณีน้ำมันดิบรั่วสู่ท้องทะเล

จากเหตุการณ์ที่น้ำมันดิบจากท่อส่งน้ำมันของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รั่วไหลสู่ท้องทะเล จ.ระยอง ใกล้กับเกาะเสม็ด เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จนคราบน้ำมันได้กระจายตามคลื่นน้ำเข้าสู่ฝั่งบริเวณอ่าวพร้าวของเกาะเสม็ด ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการที่พักโรงแรม ร้านอาหาร บนอ่าวพร้าวและชาวบ้านที่มีอาชีพประมงแถบนั้นไม่น้อย ทันทีที่ข่าวทางสื่อมวลชนเผยแพร่ออกไป รวมถึงกระแสในเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้สร้างผลกระทบทันทีคืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งออนไหวง่ายอยู่แล้วต่อข่าวร้ายๆ แม้พื้นที่ชายหาดบนเกาะเสม็ดอีกกว่า 90% จะไม่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำลอยเข้ามาที่ชายหาดก็ตาม แต่แค่คำว่า “อ่าวพร้าว” ที่ไปผูกเชื่อมโยงกับชื่อเกาะเสม็ด ก็ส่งผลทันทีให้จำนวนนักท่องเที่ยวและสถิติการจองห้องพักบนเกาะเสม็ดลดวูบลง รวมถึงนักท่องเที่ยวบนเกาะจำนวนไม่น้อยได้เช็กเอาท์ออกก่อนกำหนด นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 5, สิงหาคม 2556 เช่น 10 วิธี แก้ปัญหาน้ำมันดิบรั่วไหลสู่ท้องทะเล งานมหกรรมวิทย์ ‘56 จอประสาทตาเทียม ช่วยคนตาบอดให้กลับมามองเห็นอีกครั้ง “n-Mask” หน้ากากอนามัยต้านไข้หวัด ว่านจักจั่น ราแมลงคู่แข่งถั่งเช่า อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130801-sarawit-issue5.pdf

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คุณค่าของงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์

ประมาณสัก 20 ปี ก่อน คงน้อยคนนักที่จะคิดว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า แบรนด์เนมอย่างซัมซุง แอลจี สัญชาติเกาหลีใต้ จะมาหาญกล้าต่อกรกับแบรนด์บิ๊กเนมของญี่ปุ่นอย่าง โซนี โตชิบา ซันโย พานาโซนิก ชาร์ป เจวีซี ที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดี แต่ปัจจุบัน แบรนด์เนมจากแดนกิมจิ ไม่เพียงเพิ่มยอดขายได้อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ชนิดหายใจรดต้นคอกับสินค้าของญี่ปุ่นเท่านั้น แต่หลายประเภทยังแซงหน้าไปแล้วด้วย และไม่เพียงเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น กระทั่งโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนของซัมซุง ก็สร้างปรากฏการณ์ด้านยอดขายอย่างถล่มทลายเทียบคียงหรือแซงหน้าค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างโนเกียของยุโรป หรือไอโฟน ของค่ายบริษัทแอปเปิ้ลในอเมริกา ที่เคยครองแชมป์ส่วนแบ่งการตลาดหรืออยู่แถวหน้ามาก่อน นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 4, กรกฎาคม 2556. เช่น Space Seeds for Asian Future 2013 : เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคตของเอเชีย จุลินทรีย์รอบตัวคุณ เครื่องตรวจจับไส้เดือนฝอยที่เป็นศัตรูไม้น้ำส่งออก จิ้งจกหลายหาง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130701-sarawit-issue4.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556).  สาระวิทย์. 4(7).

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งานวิจัยเนื่องในพระราชดำริของ เจ้าชายอากิฌิโนโนมิยะ ฟูมิฮิโตะ

สาระวิทย์ฉบับนี้มีความภูมิใจนำเสนอเรื่องราวงานวิจัยเกี่ยวกับ “โครงการศึกษาวิจัยพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่” งานวิจัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริของเจ้าชาย อากิฌิโนโนมิยะ ฟูมิฮิโตะ แห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้พระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อผู้อ่านสาระวิทย์ โดยเฉพาะครับ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นนี้อาจจะยังไม่เคยมีการนำเสนอผ่านสื่อมวลชนมากนัก งานวิจัยชิ้นนี้ เจ้าชายอากิฌิโนฯ ทรงมีโอกาสเดินทางมาศึกษาไก่ป่าสีแดงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยด้วย และพบความสัมพันธ์ระหว่าง ไก่ป่ากับไก่บ้าน (พื้นเมือง) ดังกล่าว ซึ่งประเด็นนี้เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ศึกษาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ในมิติทางชีววิทยา นอกจากนี้ก็ยังมี มิติทางอื่นๆ อีกได้แก่ มิติทางมนุษยศาสตร์ มิติทางนิเวศวิทยา และมิติทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 3, มิถุนายน 2556. เช่น “พหุสัมพันธ์คนกับไก่“ ปฏิบัติการบินทะลุฟ้าท้าฝันเด็กไทย ทำวิจัยในสภาวะไร้น้ำหนักที่ญี่ปุ่น กรณีของปลาไหลสีทอง อึ่งอ่างสีทอง ศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130601-sarawit-issue3.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556).  สาระวิทย์. 3(6). จาก http://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อีเมลฉบับแรก เขียนถึงสาระวิทย์

ทันทีที่ e-magazine สาระวิทย์ถูกคลิกส่งถึงสมาชิกทางอีเมลกว่าพันราย ชั่วระยะเวลาไม่นานนัก เราก็ได้รับอีเมลตอบรับจากสมาชิกทันที และถือเป็นอีเมลฉบับแรกที่ส่งมาถึงกอง บ.ก.เราครับ เสียงสะท้อนจากผู้อ่าน จะเป็นประโยชน์ต่อทีมงานเราอย่างมากครับ อีกทั้งยังเป็นกำลังใจให้ทีมงานเราด้วย ในการที่จะได้สรรหาสาระความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมานำเสนอแก่สมาชิกและผู้อ่าน และ สร้างสรรค์สาระวิทย์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปครับ นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 2, เมษายน 2556. เช่น สวัสดีปีงู ตอน เจ้าแห่งอสรพิษ กล้วยออกลูกกลางลำต้น ตู้เลี้ยงสัตว์ใต้ทะเลลึก “การปรับปรุงพันธ์ุข้าวไทย” งานวิจัยสู่ความเป็นเลิศเพื่อเกษตรกร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130520-sarawit-02.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556).  สาระวิทย์. 2(4). จาก http://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit– ( 62 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments