ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยเฉพาะสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันยิ่งทำให้อากาศปรวนแปร บางครั้งก็มีครบทั้งสามฤดูในวันเดียว เช้าหนาว กลางวันร้อน เย็นฝนตก จนทำให้ร่างกายของมนุษย์เราปรับตัวไม่ทัน และส่งผลให้เกิดอาการป่วยในที่สุด ยังไม่นับรวมไปถึงโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอีกมากมายที่ผู้เกี่ยวข้องกำลังศึกษาค้นคว้าหาวิธีรักษาเพื่อมนุษยชาติกันอย่างแข็งขัน แต่อาการหรือโรคที่เกิดใกล้ตัวและไม่ควรมองข้ามคือ อาการไอ หากอาการไอแล้วหายในเวลาไม่นาน ย่อมเป็นอาการที่ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเป็นอาการไอเรื้อรัง เคยสงสัยหรือไม่ว่า จะส่งผลและเป็นสัญญาณบ่งบอกอะไรบ้างอย่างที่เกี่ยวกับร่างกายของเราหรือไม่
อาการไอ คือ ร่างกายกำลังพยายามทำให้ปอดและทางเดินหายใจโล่ง โดยอาจไอแบบแห้งๆ (ไม่มีเสมหะ) หรือไอมีเสมหะ การไออาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย บางครั้งอาจเกิดจากภาวะภูมิแพ้ หรือสิ่งระคายเคืองโดยเฉพาะบุหรี่ อาการไออาจเป็นผลจากการระคายเคืองโดยตรงต่อปอด หรือจากน้ำมูกที่ไหลลงในหลอดลมซึ่งเกิดจากการคั้งของมูกในทางเดินหายใจ ถ้าสาเหตุเกิดจากหัด การไออาจอยู่อีกเป็นเวลานานหลายสัปดาห์หลังจากอาการอื่นๆ หายหมดแล้วก็ได้
กำลังเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอาการไอ
ผิวเยื่อบุทางเดินหายใจจะมีลักษณะคล้ายขนเรียกว่า Cilia ซึ่งทำหน้าที่โบกพัดไปมาคล้ายไม้กวาดขนาดจิ๋ว ที่กวาดเอามูก เชื้อโรค และฝุ่น ไม่ให้เข้าไปในปอดและหลอดลม สำหรับคนสูบบุหรี่จะมีการทำงานของ cilia เสียไป ซึ่งจะไม่สามารถโบกพัดได้เช่นเดิม ทั้งนี้การติดเชื้อ การมีปฏิกิริยาภูมิแพ้ และอากาศแห้งๆ ก็อาจมีผลต่อการทำงานของ cilia ได้ จึงทำให้เกิดการสะสมของสิ่งคัดหลั่งขึ้น แล้วร่างกายจะมีปฏิกิริยา ป้องกันตนเองเพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง โดยการไอออกมาอย่างแรง ซึ่งอาจมีความเร็วลมได้ถึง 160 กม. /ชม.
นานแค่ไหนถึงจะเรียกว่าไอเรื้อรัง
ระยะเวลาไอที่เข้าข่ายไอเรื้อรังอาจแตกต่างกัน ไปบ้างแล้วแต่ความเห็น อาจนับตั้งแต่ 3 สัปดาห์จน กระทั่งถึง 8 สัปดาห์ ระยะเวลาดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อ แยกอาการไอจากหวัดส่วนใหญ่ออกไปก่อน เพราะร้อยละ 70-80 ของอาการไอเนื่องจากหวัดมักหายภาย ใน 3 สัปดาห์ และอย่างช้าก็มักไม่เกิน 2 เดือน การที่ ผู้ป่วยบางรายหายไอช้าเนื่องจากเยื่อบุผิวหลอดลมยัง ไม่เข้าสู่ปกติหรือมีภาวะหลอดลมไวหลงเหลืออยู่
ลักษณะการไอของแต่ละโรค มีรายละเอียด ดังนี้
- โพรงจมูกและไซนัสอักเสบ มักไอจากมีเสมหะไหลลงคอหรือมีคอ อักเสบร่วมด้วย เมื่อมีคออักเสบคอจะยิ่ง ระคายเคือง ถูกกระตุ้นให้ไอได้ง่าย การ เอ็กซเรย์ไซนัส จะเป็นการตรวจที่จะช่วย ยืนยันว่ามีหรือไม่มีไซนัสอักเสบ การรักษา เน้นที่ให้ยาลดอาการคัดจมูก และให้ยา ปฏิชีวนะถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย หาก มีโรคภูมิแพ้ก็ควรรักษาแบบภูมิแพ้ไปด้วย ร่วมกับยาสเตอรอยด์พ่นจมูกตามข้อบ่งชี้ เมื่อการอักเสบดีขึ้นอาการไอก็จะดีขึ้น ตามลำดับ
- โรคหืด ถ้าหายใจมีเสียงดังวี๊ดๆ หรือหอบ จากหลอดลมตีบร่วมกับอาการไอในคนไข้ที่มีประวัติหอบหืดหรือภูมิแพ้ การ วินิจฉัยคงไม่ยาก เมื่อให้การรักษาแบบ โรคหืดโดยใช้ยาสูดสเตอรอยด์ร่วมกับ ยาขยายหลอดลมอาการไอก็จะดีขึ้นอย่าง รวดเร็ว แต่บ่อยครั้งอาการเนื่องจากหลอด ลมตีบอาจไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย มีแต่ อาการไอเพียงอย่างเดียว นอกจาก ประวัติและตรวจร่างกายแล้วอาจต้อง อาศัยการตรวจสมรรถภาพปอดหรือ การทดสอบความไวของหลอดลมจึงจะ ให้การวินิจฉัยได้
- ไอตามหลังหวัด อย่างที่บอกข้างต้นแล้ว ครับว่าไอจากหวัดโดยส่วนใหญ่จะหาย ภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่มีประมาณร้อยละ 20 ที่ไออยู่เป็นเดือนๆ เนื่องจากเกิดภาวะ หลอดลมไวขึ้นชั่วคราว หรือไม่ก็การ ทำงานของเยื่อบุหลอดลมยังไม่กลับสู่ ปกติ คนไข้มักจะไอมากขึ้นเมื่อกระทบเย็น ควันธูปควันบุหรี่ที่ระคายเคืองหรือกลิ่นฉุน การรักษาที่สำคัญคือ ให้คนไข้เข้าใจ ธรรมชาติของโรค ยาที่ให้จะเป็นยา บรรเทาอาการ เช่นยาละลายเสมหะ ส่วน ยาระงับไอจะให้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ถ้า ไอมากๆ อาจลองให้ยาสเตอรอยด์สูดร่วม กับยาขยายหลอดลมในขนาดต่ำๆ แต่มัก ได้ผลไม่ชัดเจน
- โรคกรดย้อน โรคนี้ทำให้เกิดอาการไอ หรือบางครั้งเสียงแหบได้ มีผู้ป่วยโรคนี้ถึง 1 ใน 3 ที่ไม่มีอาการของหลอดอาหาร เลยทำให้วินิจฉัยยาก การวินิจฉัยให้ แน่นอนทางห้องปฏิบัติการอาจยุ่งยากเล็ก น้อยโดยการตรวจวัดความเป็นกรดพร้อมๆ ไปกับการวัดความดันในหลอดอาหารตลอด 24 ชม. ในทางปฏิบัติหากแพทย์ผู้ตรวจ สงสัยว่า อาจเป็นโรคนี้ก็อาจลองให้ยา รักษาแบบโรคกรดย้อนไปเลยแล้วดูผล การรักษาหลังจากนั้น
- ไอจากยาลดความดันกลุ่ม angiotensin converting enzyme inhibitor (ACEI) มีไม่น้อย อาจถึงร้อยละ 10-40 ที่ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงแพ้ยากลุ่มนี้ โดยเมื่อ ได้ยากลุ่มนี้ไปสักระยะจะค่อยๆ เกิด อาการไอขึ้นมา ผู้ป่วยมักบอกว่ามีอาการ ไอแห้งร่วมกับอาการคันคอยิบๆ วิธีรักษา ที่ดีที่สุดคือเลิกใช้ยากลุ่มนี้ ถ้าจำเป็น ต้องใช้ยากลุ่มนี้ต่อไปแพทย์อาจต้องใช้ยา ตัวอื่นมาช่วยคุมอาการไอ แต่ก็มักได้ผล ไม่ดีนัก
- ไอจากการสูบบุหรี่ จริงๆแล้วคนที่สูบ บุหรี่เป็นประจำจะมีถึง 3 ใน 4 ที่มีอาการไอ ถ้าไอมีเสมหะ ทุกวันเป็นปีๆ ก็น่าจะเป็น จากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การหยุดบุหรี่ และสูดยารักษาเฉพาะจะช่วยบรรเทาอาการ ได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่เคยไอเรื้อรังอยู่เดิม หาก อาการไอที่เคยเป็นอยู่มีลักษณะเปลี่ยนไป จากเดิมเช่น ปริมาณเสมหะมากขึ้น สีเสมหะเปลี่ยนไป หรือไอถี่ขึ้น มักเป็น สัญญาณเตือนว่ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มีการติด เชื้อของหลอดลม หรือมะเร็งปอดเป็นต้น
- วัณโรคปอด เป็นโรคที่พบบ่อยมากครับ สำหรับบ้านเรา บ่อยครั้งที่คนมักเข้าใจว่า เป็นวัณโรคต้องผอมแห้งแรงน้อย ต้องมี คนใกล้ตัวเป็นวัณโรค แต่จริงๆแล้ว ไม่จำเป็นเลยครับสำหรับบ้านเรา เพราะ คนไทยเป็นวัณโรคกันมาก เราอาจสูด เอาเชื้อจากผู้ป่วยที่เราไม่รู้จักโดยบังเอิญ เมื่อไรเราก็ไม่รู้ แล้วต่อมาร่วมปีหรือ หลายๆปีค่อยปรากฏอาการขึ้นมา การ วินิจฉัยส่วนใหญ่ไม่ยากครับ เพราะ เอ็กซเรย์ปอดสามารถเห็นรอยโรคได้ดี
การดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการ
เนื่องจากการไอเป็นกลไกปกป้องตัวเองของร่างกายทำให้ทางเดินหายใจที่มีมูกคั่งอยู่โล่งขึ้น เป้าหมายของการดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการก็คือทำให้รู้สึกอิ่มสบายขึ้น ในขณะที่ช่วยการขจัดมูกด้วย
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อ
- มีไข้ 38.9 C ขึ้นไป
- เสมหะปนเลือดมีสีน้ำตาล หรือเขียว
- มีอาการหอบหืด
- หายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
- ไอติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์
รายการอ้างอิง :
การดูแลรักษาตนเองเมื่อเกิดอาการไอ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nmd.go.th/preventmed/self/cough.html. (วันที่ค้นข้อมูล 30 ตุลาคม 2555).
สิทธิ์เทพ ธนกิจจารุ. ไอเรื้อรัง..อาการที่ไม่อาจละเลย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.vichaiyut.co.th/html/jul/35-2549/p29-31_35.asp. (วันที่ค้นข้อมูล 30 ตุลาคม 2555).
Anonymous. เจ็บคอ คันคอ ไอแห้งๆ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.doctor.or.th/ask/detail/2904. (วันที่ค้นข้อมูล 30 ตุลาคม 2555).
– ( 349 Views)