อะไรเป็นต้นเหตุของอาการเมารถเมาเรือ
เนื่องจากน้ำในหูชั้นในกระฉอกไปมาเมื่อคุณขยับเขยื้อนตัว จึงทำให้เซลล์ขน ขนาดเล็กส่งสารกระตุ้นประสาทในทางตรงข้ามไปยังสมอง เมื่อคุณอ่านหนังสือหรือมองของในรถ สายตาจะส่งสัญญาณไปยังสมองว่าคุณไม่ได้เคลื่อนไหว ขณะหูชั้นในกลับบอกว่าคุณเคลื่อนไหวอยู่ ความสับสนจากการส่งสัญญาณทั้งสองนี้อาจทำให้คุณรู้สึกคลื่นเหียนได้ การมองสิ่งของไกลและใกล้สลับไปมาสามารถช่วยป้องกันอาการและเป็นเหตุผลว่าทำไมคนขับจึงมีอาการเมาน้อยกว่าผู้โดยสาร คนอายุน้อยไวต่ออาการมากกว่า เพราะเมื่อคุณโตขึ้นหรือเดินทางเป็นประจำมากขึ้น หูชั้นในจะไวต่อการกระตุ้นน้อยลง
ควรทำอย่างไรเมื่อมีอาการเมารถเมาเรือ
- มองวิวข้างทางเพื่อให้ดวงตาช่วยช่วยยืนยันความรู้สึกเคลื่อนไหวที่ประสาทหูชั้นในรับสัมผัสได้
- พยายามไปอยู่ในบริเวณที่ร่างกายจะรับรู้การเคลื่อนไหวได้น้อยที่สุด เช่น แถวๆ ปีกเครื่องบิน หรือตรงกลางลำเรือ
- หากเป็นไปได้ควรขับรถเอง ผู้ขับขี่มีโอกาสเกิดอาการเมารถน้อยกว่าผู้โดยสาร
- พยายามประคองศีรษะให้นิ่ง กรเคลื่อนไหวจะทำให้น้ำในช่องหูชั้นใน “ปั่นป่วน” และกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ทำงานสับสน
- สำหรับบางคน การหลับตาช่วยลดอาการวิงเวียนได้
- ควบคุมอากาศให้ไหลเวียนดีอยู่เสมอ กลิ่นหรือควันสามารถกระตุ้นอาการได้
- ความกังวลทำให้อาการแย่ลง พยายามผ่อนคลายโดยหายใจลึกด้วยหน้าท้องหรืออ่านหนังสือที่สนุกน่าสนใจ
ที่มา :
ควรทำอย่างไรเมื่อมีอาการเมารถเมาเรือ. (2556). รีดเดอร์ส ไดเจสท์ สรรสาระ, 07(13), 21.
อะไรเป็นต้นเหตุของอาการเมารถเมาเรือ . (2556). Reader’s Digest Thailand. ค้นข้อมูลวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 จาก http://www.readersdigestthailand.co.th/อะไรเป็นต้นเหตุของอาการเมารถเมาเรือ.– ( 15 Views)