หลายท่านคงจะได้เคยยินข่าวการลอกผลงานของคนอื่น มาเป็นส่วนหนึ่งของผลงานตนเอง ซึ่งก็จะมีผลต่อตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือการดำรงตำแหน่ง หรือการเพิกถอนใบรับรองการสำเร็จการศึกษา ในอดีตไม่สามารถที่จะตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้อย่างรวดเร็ว หรือชัดแจ้งมากนัก
แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน กระบวนการตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้สะดวกขึ้น สามารถที่จะสกัดพฤติกรรมการคัดลอกผลงานของคนอื่น และส่งผลให้การผลิตผลงานทางวิชาการในระดับต่างๆ ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ประเทศไทยได้มีการนำโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และมีแผนจะนำไปใช้กับการพิจารณาการให้ทุนวิจัย การพิจารณาผลงานทางวิชาการ โดยมีการพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวจากจาก 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลโยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อสัมมนานี้จะช่วยให้เห็นพัฒนาการของการพัฒนาโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกความเหมือน และความแตกต่างของแต่ละโปรแกรม ตลอดทั้งความเหมาะสมในการนาไปใช้ในแต่ละหน่วยงาน พบกับการบรรยายเต็มได้ในงาน NAC2014 ในหัวข้อการบรรยายเรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors) วันที่ 2 เมษายน 2557 เวลา 13.00น.-16.00น. ณ อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ห้อง CC308 ลงทะเบียน และ สำรองที่นั่งได้ที่ ลงทะเบียน
รายละเอียดเพิ่มเติม http://nstda.or.th/nac2014/download/seminar/new/CC-308-02-PM.pdf– ( 10 Views)